นวดกดจุด 9 จุด ลดอาการแทรกซ้อน ชาเท้าจากโรคเบาหวาน

นวดกดจุด 9 จุด ลดอาการแทรกซ้อน ชาเท้าจากโรคเบาหวาน

นวดกดจุด 9 จุด ลดอาการแทรกซ้อนโรคเบาหวาน

นวดกดจุด เป็นการกระตุ้นการทำงานของเท้าได้เป็นอย่างดี สามารถลดอาการปวด และป้องกันอาการเท้าชาจากโรคเบาหวานได้

คุณหฤทัย งามแสง อาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้านดอนทราย อําเภอหว้านใหญ่ เป็นผู้เชี่ยวชาญการนวดกดจุดบริเวณฝ่าเท้า เพื่อป้องกันอาการเท้ามึนชา
ที่จะนําไปสู่การเป็นแผลเรื้อรัง เสี่ยงต่อการตัดนิ้วเท้า ฝ่าเท้า หรือขา ในผู้ป่วยเบาหวาน

นอกจากเยี่ยมบ้านผู้ป่วย ให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องพฤติกรรมการกินและการดูแลตัวเองแล้ว ทุกเดือนเมื่อมีการบริการตรวจสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลหว้านใหญ่ เธอก็มีหน้าที่ให้ความรู้เรื่องการนวดฝ่าเท้า

 

นวดกดจุด 9 จุด ลดอาการแทรกซ้อนโรคเบาหวาน

นวดกดจุด เป็นการกระตุ้นการทำงานของเท้าได้เป็นอย่างดี สามารถลดอาการปวด และป้องกันอาการเท้าชาจากโรคเบาหวานได้

คุณหฤทัย งามแสง อาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้านดอนทราย อําเภอหว้านใหญ่ เป็นผู้เชี่ยวชาญการนวดกดจุดบริเวณฝ่าเท้า เพื่อป้องกันอาการเท้ามึนชา
ที่จะนําไปสู่การเป็นแผลเรื้อรัง เสี่ยงต่อการตัดนิ้วเท้า ฝ่าเท้า หรือขา ในผู้ป่วยเบาหวาน

นอกจากเยี่ยมบ้านผู้ป่วย ให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องพฤติกรรมการกินและการดูแลตัวเองแล้ว ทุกเดือนเมื่อมีการบริการตรวจสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลหว้านใหญ่ เธอก็มีหน้าที่ให้ความรู้เรื่องการนวดฝ่าเท้า
“โดยปกติจะตรวจบริเวณฝ ่าเท้าของผู้ป่วย 9 จุดก่อน ว่ามีภาวะมึนชาไหมเพราะ 9 จุดนี้จะเป็นจุดที่ลงน้ําหนักเวลาเดินเยอะ ฉะนั้น ถ้าน้ําหนักตัวเยอะ เท้ารับน้ําหนักเยอะ แล้วไปกดระบบประสาท อาจทําให้เกิดอาการเท้ามึนชาหรือเป็นตาปลาได้

 

“จุดทั้งเก้าได้แก่ 1. หัวแม่เท้า 2. นิ้วกลาง 3. นิ้วก้อย 4. ส้นเท้า 5. สันเท้าซ้าย 6. สันเท้าขวา 7. โหนกใต้ฝ่าเท้าบริเวณนิ้วโป้ง 8. โหนกใต้ฝ่าเท้าระหว่างนิ้วชี้นิ้วกลาง และนิ้วนาง และ 9. โหนกใต้ฝ่าเท้าบริเวณนิ้วก้อย

“ภาวะเสี่ยงสําหรับฝ่าเท้ามีสามระดับ คือ ต่ํา ปานกลาง สูง ถ้าผู้ป่วยมีความรู้สึกอยู่เต็มที่ก็ถือว่าปกติ แต่ถ้าคนไข้บอกไม่ได้2 – 3 จุด จัดอยู่ในภาวะเสี่ยงต่ํา ถ้า 3-4 จุดหรือมีเท้าผิดรูป จัดอยู่ในภาวะเสี่ยงปานกลาง ถ้าไม่มีความรู้สึกเลยก็จัดอยู่ในภาวะเสี่ยงสูง
“หากมีแผลที่เท้า แผลเรื้อรัง หรือตัดนิ้วเท้าไปแล้ว ต้องได้รับการดูแลที่มากกว่าปกติ ราวสัปดาห์ละครั้ง”

หลังจากตรวจเท้าให้ เธอและทีมงานอสม.ยังช่วยขูดผิวหนังที่หนาผิดปกติ ขูดตาปลา และแนะนําวิธีดูแลเท้าให้ผู้ป่วยสามารถนํากลับไปทําเองที่บ้านได้ด้วย จากกิจกรรมดูแลเท้าที่ทํามานานราวหกเดือน ผลปรากฏว่า แผลเรื้อรังบริเวณเท้าของผู้ป่วยแห้งดี หากเคยมีอาการเท้ามึนชา ตอนนี้ก็หายแล้ว

 

นวดหยุดอาการเท้ามึนชา ลดเสี่ยงตัดขา

เมื่อ 16 ปีที่แล้ว คุณจอมศรี อุตทะวงศ์(ปัจจุบันอายุ67 ปี) เริ่มมีระดับน้ําตาลในเลือดสูงถึง 150 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ จึงจําเป็นต้องกินยาลดระดับน้ําตาล
อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ หากเมื่อ 5-6 ปีให้หลัง เธอเริ่มมีอาการเท้ามึนชา แต่ก็ไม่มีการบําบัดเยียวยาพิเศษใด ได้แต่ปล่อยไปอย่างนั้นจวบจนราว 6-7 เดือนที่แล้ว เมื่อกิจกรรมนวดเท้าบําบัดเริ่มขึ้น คุณจอมศรีจึงเรียนรู้วิธีการนวดบําบัดเท้า

“ตอนนั้นป้ามึนชาหัวแม่เท้าที่สุด ไม่รับรู้ความรู้สึกอะไรแล้ว มาที่รพ.สต.นี่ เดือนละครั้ง อสม.เขาก็ช่วยขูดเท้าตรงที่มีหนังหนาๆออก และก็สอนให้กลับบ้านไปทําเอง

“กลับบ้าน ลูกสาวที่เป็นอสม.ก็มานวดให้ ช่วยกดจุดที่มึนชา ให้ป้าแช่เท้าในน้ํา แล้วขัดด้วยแปรงเล็กๆและขูดที่ผิวหนังหนาๆ บางทีป้าก็ทําเอง เลยได้ทําทุกวัน บางครั้งทําตอนเย็น บางครั้งก็ทําตอนเช้า
“อาการมึนชาดีขึ้นจนหายดีแล้ว เหยียบอะไรก็รู้สึกแล้ว”

ประกอบกับการควบคุมอาหารจําพวกข้าวและแป้ง ลดรสเค็มและหวานลงกินผักมากขึ้น ออกกําลังกายด้วยการเดินไปทําสวนทํานา ล่าสุด เมื่อตรวจระดับน้ําตาลในเลือด พบว่าเหลือ 90-110 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์เท่านั้น

 

 

วิธีนวดเท้าของผู้ป่วยเบาหวาน

อุปกรณ์

– เครื่องนวดคลึงเท้าแบบไม้ หรือกะละมังใส่ลูกหินหรือลูกแก้ว

– ครีมหรือโลชั่นทั่วไป

– กะละมังใส่น้ําอุ่นและแปรงขัดเท้า

– ผ้าขนหนูสะอาด

 

วิธีทํา

1. นั่งผ่อนคลายบนเก้าอี้ วางเท้าทั้งสองข้างบนเครื่องนวดหรือวางในกะละมังใส่ลูกหินหรือลูกแก้ว

2. กดคลึงเท้าสลับกับทาครีมหรือโลชั่นนานอย่างน้อย 30 นาที

3. แช่เท้าในน้ําอุ่น แปรงเบาๆให้ทั่วฝ่าเท้าหลายๆรอบด้วยแปรงขัดเท้า ซับเท้าให้แห้งด้วยผ้าขนหนูสะอาด

 

ที่มา: คอลัมน์เรื่องพิเศษ,เอื้อมพร และพรรณรวี

ขอขอบคุณรูปภาพจาก unsplash
ขอขอบคุณรูปภาพจาก pixels
ขอขอบคุณข้อมูลจาก goodlifeupdate