ไขปัญหา ผู้ป่วยเบาหวาน ห้ามกินแครอทจริงหรือไม่

ไขปัญหา ผู้ป่วยเบาหวาน ห้ามกินแครอทจริงหรือไม่

แครอทกับ ผู้ป่วยเบาหวาน

บางคนเชื่อว่า แครอท เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดและ ผู้ป่วยเบาหวาน ไม่ควรกิน ซึ่งนั่นเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้องเสียทีเดียว

ในบทความนี้เราค้นพบผลลัพธ์ที่แครอทกระทำต่อระดับน้ำตาลในเลือดและจะอธิบายวิธีการที่แครอทจะส่งผลดีและเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน

เราจึงทำการการตรวจสอบค่า glycemic index (GI) ในแครอท เพื่อยืนยันว่า แครอทนี้มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยเบาหวานอย่างไร
ผัก GI ต่ำ

 

GI เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดปริมาณคาร์โบไฮเดรตในอาหารที่ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดในมนุษย์ อาหารที่มีค่า GI สูงจะเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่าอาหารที่ค่า GI ต่ำ
American Diabetes Association (ADA) กำหนดไว้ว่า อาหารที่มีค่า GI ต่ำกว่า 55 จัดอยู่ในประเภทอาหาร GI ต่ำ และแครอทต้มมีค่า GI อยู่ที่ 33 ในขณะที่แครอทดิบมีน้อยกว่าเสียอีก

 

ผู้ป่วยเบาหวานควรกินแครอทหรือไม่

เพราะแครอทไม่ใช่ผักที่มีส่วนประกอบของแป้ง ผู้ป่วยเบาหวานสามารถกินแครอทได้ตามต้องการ อ้างอิงจากAmerican Diabetes Association (ADA)
ในความเป็นจริงแล้ว แครอทให้ประโยชน์แก่ผู้ป่วยเบาหวานเสียด้วยซ้ำ จากส่วนประกอบต่างๆ เหล่านี้

 

แคโรทีนอยด์

แครอทเป็นแหล่งอุดมแคโรทีนอยด์ (เม็ดสีในอาหารชนิดหนึ่ง) ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่ก่อให้เกิดสีเหลืองและส้มในผักและผลไม้ ซึ่งเม็ดสีในดวงตาของเราก็มีแคโรทีนอยด์ อีกทั้งสารแอนติออกซิแดนท์ที่มากับแคโรทีนอยด์ยังช่วยปกป้องจอตาของเราอีกด้วย

บางงานวิจัย แนะนำว่าแคโรทีนอยด์อาจช่วยป้องกันเบาหวานขึ้นจอประสาทตาได้ ซึ่งโรคนี้ทำสามารถทำให้สูญเสียการมองเห็น ซึ่งเป็นหนึ่งในโรคแทรกซ้อนที่พบบ่อยที่มากับเบาหวาน

อ้างอิงจาก งานวิจัยในปี 2015 อาหารที่ประกอบไปด้วยอัลฟ่าและเบต้าแคโรทีนในปริมาณสูง อาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิด 2 ได้ ซึ่งแครอทนั้นเป็นแหล่งอุดมแคโรทีน ประกอบไปด้วยเบต้าแคโรทีน 8,285 ไมโครกรัม และอัลฟ่าแคโรทีน 3,477 ไมโครกรัม ต่อแครอท 100 กรัม

 

รูปภาพจาก pixels

 

คาร์โบไฮเดรตที่มีประโยชน์

การจัดการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดนั้นเป็นเป้าหมายหลักของการรักษาโรคเบาหวาน และปริมาณในการบริโภคคาร์โบไฮเดรตมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อระดับน้ำตาลที่ว่านี้

แครอทหัวกลางดิบๆ จะมีคาร์โบไฮเดรตอยู่ที่ 5.84 กรัม ถึงแครอทจะมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่น้อยและดูไม่จำเป็น แต่กลับเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ดีต่อสุขภาพ อ้างอิงจาก Centers for Disease Control and Prevention (CDC) คาร์โบไฮเดรตควรมีปริมาณคิดเป็น 45 เปอร์เซ็นต์ของพลังงานที่ได้รับในผู้ป่วยเบาหวาน

การนับปริมาณคาร์โบไฮเดรต และรักษาระดับให้อยู่ในปริมาณที่พอเหมาะต่อสุขภาพจะช่วยคงระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติและช่วยป้องกันโรคแทรกซ้อนจากเบาหวานได้ เช่น

โรคหัวใจ

โรคไต

สูญเสียการมองเห็น

โรคหลอดเลือดสมอง

วิตามินเอ

อ้างอิงจากบทความในปี 2015 ที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร Diabetes Management ระบุว่า การได้รับวิตามินเอที่น้อยเกินไปอาจส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานได้

ในอีกบทความที่ตีพิมพ์ในปีเดียวกัน ชื่อว่า Endocrine, Metabolic & Immune Disorders Drug Targets เตือนไว้ว่า ผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรังที่เกี่ยวโยงกับการบริโภคคาร์โบไฮเดรตเช่น

 

เบาหวาน ควรกินวิตามินเอให้เพียงพอ

นี่เป็นคำแนะนำที่ค่อนข้างดีเยี่ยมสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิด 1 ที่ส่งผลให้ T-cells ในร่างกายโจมตีเซลล์เบต้าที่ผลิตอินซูลิน ซึ่งวิตามินเอมีบทบาทอย่างยิ่งต่อการผลิตเซลล์เหล่านี้ในตับอ่อน

วิตามินเอยังช่วยรักษาสมดุลระบบภูมิคุ้มกันอย่าง T-cell ที่อาจได้รับผลกระทบจากโรคเบาหวานชนิด 1 ‘

อย่างไรก็ดี แครอทนั้นเป็นแหล่งรวมวิตามินเอที่ดีเยี่ยม โดยประกอบไปด้วยวิตามินเอ 835 ไมโครกรัม ต่อแครอท 100 กรัม

 

ใยอาหาร

กินใยอาหารมาก ยิ่งช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและส่งเสริมความคงทนต่ออินซูลิน และความไวต่ออินซูลิน ช่วยต่อสู้กับโรคเบาหวานได้ ผู้ป่วยเบาหวานควรกินใยอาหารให้ได้ 20-35 กรัมต่อวัน จากผัก ผลไม้ และธัญพืช ซึ่งแครอทประกอบไปด้วยใยอาหาร 2.8 กรัมต่อแครอท 100 กรัม

 

สรุปแล้ว ความเข้าใจที่ว่า ผู้ป่วยเบาหวานไม่ควรกินแครอท (เพราะเป็นผักมีรสหวาน) เป็นความเข้าใจที่ผิดค่ะ ตรงกันข้าม ในแครอทมีองค์ประกอบต่างๆ ที่ส่งเสริมการดูแลสุขภาพให้ห่างไกลจากโรคเรื้อรังอีกด้วย

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก goodlifeupdate


ข้อมูลจาก : Medical News Today