ไขข้อข้องใจ น้ำผึ้งกับผู้ป่วยเบาหวาน กินได้หรือไม่ มากน้อยเท่าไร

ไขข้อข้องใจ น้ำผึ้งกับผู้ป่วยเบาหวาน กินได้หรือไม่ มากน้อยเท่าไร

น้ำผึ้งกับผู้ป่วยเบาหวาน ควรกินหรือไม่ อย่างไร

พูดถึงโรคเบาหวาน รู้ๆกันอยู่ว่าของต้องห้ามของโรคนี้ก็คือของหวานๆ วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ น้ำผึ้งกับผู้ป่วยเบาหวาน กันดู ว่าเจ้าวัตถุดิบที่หลายครัวเรือนใช้แทนน้ำตาล และถูกนำเข้ามาใช้ในเมนูสุขภาพหลายหลากนี้จะมีเงื่อนไขอย่างไรกับโรคนี้บ้าง อ้างอิงข้อมูลจาก American Diabetes Association

 

ส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรต

น้ำผึ้ง เหมือนของหวานอื่นๆ คือเป็นแหล่งของคาร์โบไฮเดรต น้ำผึ้งหนึ่งช้อนโต๊ะ จะมีคาร์โบไฮเดรตประมาณ 17.3 กรัม หนึ่งช้อนชาจะมีคาร์โบไฮเดรต 5.8 กรัม

จากฐานข้อมูลของ USDA National Nutrient แม้ปริมาณคาร์โบไฮเดรตข้างต้นจะดูไม่มาก แต่ปริมาณสามารถเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วขึ้นอยู่กับปริมาณการบริโภคน้ำผึ้งในหนึ่งครั้ง และหนึ่งในวิธีที่จะสำรวจปริมาณการบริโภคคาร์โบไฮเดรต คือการจดว่าคุณกินอะไรเข้าไป รวมถึงปริมาณที่กินเข้าไปด้วย อาจดูจากฉลาก เทียบหน่วยบริโภค และต้องแน่ใจว่าในหนึ่งมื้อไม่ควรมีคาร์โบไฮเดรตเกิน 45-60 กรัม

และหากการมีน้ำผึ้งอยู่ในมื้ออาหารไม่ได้ทำให้โควต้าของคาร์โบไฮเดรตเกินกว่าที่กำหนด เป็นอันใช้ได้ แต่ก็ยังควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอยู่เช่นกัน

 

รูปภาพจาก pixels

 

ความหวานเพื่อสุขภาพจริงหรือ

น้ำผึ้ง มักเป็นที่เข้าใจกันว่า เป็นความหวานเพื่อสุขภาพ หากเทียบกับน้ำตาลทรายขาวหรือน้ำเชื่อมคอร์นไซรัปที่มีฟรักโทสสูง แม้ว่าน้ำผึ้งมีความเป็นธรรมชาติ และผ่านกระบวนการน้อยกว่า แต่ก็ยังมีส่วนประกอบของน้ำตาลในปริมาณที่พอๆ กับวัตถุดิบให้ความหวานอื่นๆ

 

ยกตัวอย่างเช่น น้ำตาลทราย 1 ช้อนชา มีคาร์โบไฮเดรต 4.8 กรัม น้ำตาลทรายแดงจะมีคาร์โบไฮเดรต 4.5 กรัม น้ำเชื่อมคอร์นไซรัปมี 5.6 กรัม เมเปิ้ลไซรัปมี 4.5 กรัม
และปริมาณของคาร์โบไฮเดรตจะค่อนข้างเป็นเรื่องใหญ่กว่าคุณภาพสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

 

ฟรักโทสปริมาณสูง

น้ำตาลต่างๆ จะมีสัดส่วนของซูโครสที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นโมเลกุลที่เกิดจากการรวมตัวของฟรักโทสและกลูโคส ทั้งหมดทั้งมวลนี้สุดท้ายจะกลายมาอยู่ในหมวดคาร์โบไฮเดรต และส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดด้วยกันทั้งนั้น

ครึ่งหนึ่งของน้ำตาลที่พบในน้ำผึ้งอยู่ในรูปของฟรักโทส ที่สามารถส่งผลต่อโรคเบ่าหวานได้ เพราะฟรักโทสอาจส่งผลเสียต่อไขมันในเลือด โดยเฉพาะไตรกลีเซอไรด์ ตามที่ระบุไว้ใน Diabetes Care ฉบับเดือนมกราคม ปี 2008 ที่บอกว่า “หลีกเลี่ยงการกินน้ำตาลฟรักโทสมากเกินไป เพื่อช่วยป้องกันโรคเกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือด”

 

กินน้ำผึ้งกับโรคเบาหวาน

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ชอบกินน้ำผึ้ง และอยากใช้น้ำผึ้งแทนน้ำตาลในอาหารแต่ละมื้อ พยายามใช้ในปริมาณที่น้อย เช่น ในชาหนึ่งถ้วย พยายามเติมน้ำผึ้งเพียงครึ่งช้อนชา หรือเวลาจะเติมใส่โยเกิร์ต กราโนล่า ก็ใช้แค่ครึ่งช้อนชาพอ

หากสามารถเปลี่ยนมาใช้ความหวานในปริมาณที่น้อยกว่า แต่คุณสามารถรับรู้รสชาติที่ละเอียดอ่อนของน้ำผึ้งได้แม้ใส่เพียงเล็กน้อย เท่านี้ก็สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้แล้วค่ะ

 

น้ำผึ้งเป็นของโปรดใครหลายๆ คน มีข้อดีมากมาย แต่สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ก็ควรใส่ใจกับปริมาณที่บริโภคไม่ต่างจากน้ำตาลทั่วๆไปค่ะ

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก  goodlifeupdate