กินลดเบาหวาน พฤติกรรมเสี่ยงเบาหวาน จากภูมิชีวิตบกพร่อง ไม่ใช่เชื้อโรค
กินลดเบาหวาน อาจารย์สาทิส อินทรกําแหง จึงย้ำเสมอว่า ต้องรักษาด้วยการเพิ่มภูมิชีวิตให้ดีขึ้นให้เร็วที่สุด โดยใช้อาหารเป็นตัวนํา แล้วออกกําลังกายอย่างเคร่งครัดเป็นตัวรอง ควบคู่กับการดูแลร่างกายด้านอื่นๆ
“กินลดเบาหวาน” กินจืดลดน้ำตาล
เมื่อคนอ่างทองอ่อนหวานจากประสบการณ์การดูแลผู้สูงอายุมายาวนาน ครั้นเมื่อปีพ.ศ. 2550 คุณรุ่งทิวา มากอิ่ม พยาบาลวิชาชีพชํานาญการ โรงพยาบาลอ่างทอง 2 ชักชวนให้มาร่วมดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน ชมรมเบาหวาน โรงพยาบาลอ่างทอง 2 คุณวิภาสินี แก้วช่วง เจ้าหน้าที่ประจําโรงพยาบาลอ่างทอง 2 ก็ยินดี
“ผู้ป่วยเบาหวานในชมรมจํานวนร้อยกว่าคน มีตั้งแต่อายุ 35-70 ปี สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการไม่ดูแลตัวเอง จึงคิดว่าต้องหาวิธีการให้ผู้ป่วยเหล่านี้ดูแลตัวเองอย่างจริงจัง นอกเหนือจากคําแนะนําที่หมอบอก”
ทุกเดือน ขณะผู้ป่วยเบาหวานมาตรวจสุขภาพตามนัดนอกจากการบริการตรวจวินิจฉัยทั่วไปแล้ว ทางโรงพยาบาลยังมีอาหารเลี้ยงรับรอง ซึ่งคุณวิภาสินีเห็นเป็นโอกาสดีที่จะช่วยผู้ป่วยให้มีความรู้ความเข้าใจในการปรับพฤติกรรมของตนอย่างเป็นรูปธรรม โครงการสอนผู้ป่วยเบาหวานให้กินอาหารจืดจึงเริ่มต้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2553
“บางทีผู้ป่วยก็ไม่รู้ว่าที่หมอบอกให้ลดหวานลดเค็มในอาหารรสของสิ่งที่กินที่แท้ควรเป็นอย่างไร ฉะนั้น นอกจากเชิญชวนให้กินอาหารสุขภาพ คลายเครียด และออกกําลังกาย เรายังมีอาหารปรุงรสที่ผู้ป่วยเบาหวานควรกินให้ได้กินจริงอีกด้วย”
การลดน้ำตาลในอาหารและเครื่องดื่มก็ไม่เป็นแบบหักดิบ คุณวิภาสินีใช้วิธีค่อยๆลด เพื่อให้ผู้ป่วยปรับลิ้นรับรสชาติใหม่ได้
“ตอนแรกๆเราลดปริมาณน้ำตาลที่ใส่ในอาหารแค่ 20เปอร์เซ็นต์ ต่อมาก็ลดเพิ่มอีก 10-20 เปอร์เซ็นต์ ตอนนี้ก็น่าจะลดได้ 50-60 เปอร์เซ็นต์แล้ว”
เบื้องต้นอาจมีผู้ป่วยบ่น หากคุณวิภาสินีชี้แจงจนผู้ป่วยเข้าใจและเริ่มยอมรับ ส่งผลให้ไม่เพียงแต่เพลิดเพลินกับการกินอาหารอ่อนหวานที่โรงพยาบาลเท่านั้น แต่ยังไปปรับกับเมนูที่บ้านให้มีรสชาติแบบเดียวกับที่โรงพยาบาลอีกด้วย ผลสัมฤทธิ์จึงปรากฏ ผู้ป่วยมากกว่าครึ่งในชมรมเบาหวาน โรงพยาบาลอ่างทอง 2 สามารถลดน้ำตาลในเลือดได้
กินจืดลดน้ำตาลจริง
คุณวัลภา วาสนาเรืองไร อายุ66 ปี ไม่ได้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน แต่ต้องดูแลสามีของเธอ คุณสมพร วาสนาเรืองไร อายุ64 ปี ซึ่งป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงอยู่แล้ว และเมื่อสองปีที่แล้วตรวจพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นสูงถึง 160 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
“แต่ไม่มัวเสียใจ รีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินเพิ่มเติมเพื่อไม่ให้เป็นมากขึ้น”
ทุกครั้งที่พาสามีมาตรวจตามนัดที่โรงพยาบาลอ่างทอง 2 ได้เรียนรู้เรื่องอาหารจืดจากคุณวิภาสินี คุณวัลภาก็นําไปปรับใช้กับทุกเมนูที่เธอปรุงให้สามีกิน โดยลดปริมาณน้ําตาลลง จากเดิมที่ใส่ 2 ช้อนโต๊ะในหลายเมนู มาเหลือเพียง 1 ช้อนโต๊ะในสัปดาห์แรก สัปดาห์ต่อมาก็ลดเหลือ 1-2 ช้อนโต๊ะ และ 1-4 ช้อนโต๊ะ
ในสัปดาห์ถัดมา สุดท้ายก็แทบไม่ใส่น้ำตาลลงในอาหารคาวเลยเมนูที่คุณวิภาสินีแนะนําให้ปรุงกินคือ ปลานึ่ง แกงเลียงยําผักรวม ยําตะไคร้ แกงป่า ส่วนน้ำดื่มประเภทชาสมุนไพรปราศจากน้ำตาลคือ ชาใบเตย ชาใบย่านาง และผลไม้ที่ไม่แนะนําให้กิน เช่น มะม่วงสุก มะละกอสุก หรือผลไม้ที่มีรสหวานจัด
ประกอบการเหยาะซีอิ๊วขาวแทนน้ําปลา ไม่กินอาหารทะเลประเภทที่มีคอเลสเตอรอลสูง เช่น ปลาหมึก อยู่แล้ว นอกจากความดันโลหิตของคุณสมพรจะคงที่อยู่ในระดับที่ปลอดภัยแล้วระดับน้ําตาลในเลือดยังลดลงอย่างต่อเนื่อง
“เดือนแรกที่กินอาหารจืด ระดับน้ำตาลในเลือดคุณสมพรเหลือ 140 (มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์) เดือนต่อมาเหลือ 120 และ 100 (มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์) แค่เพียงครึ่งปีที่ทําแบบนี้ ตอนนี้ระดับน้ำตาลในเลือดเหลือ 50-60 (มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์) เท่านั้น”
เมื่อควบคุมการกินได้ จิตใจก็เบิกบาน มีกําลังใจลุกขึ้นมายืดเส้นยืดสาย สุขภาพแข็งแรงจึงกลับมา
ที่มา: คอลัมน์เรื่องพิเศษ,เอื้อมพร และพรรณรวี
ขอขอบคุณรูปภาพจาก unsplash
ขอขอบคุณรูปภาพจาก pixels
ขอขอบคุณข้อมูลจาก goodlifeupdate