กินอย่างไร ให้กระดูกไม่พรุน

กินอย่างไร ให้กระดูกไม่พรุน

วันนี้จะมาบอกวิธี กินอย่างไร กระดูกไม่พรุนค่ะ “เมนูป้องกันกระดูกพรุน”

เราจะพามารู้จักโรคกระดูกพรุน และวิธีกินอย่างไรให้ไม่พรุนกันค่ะ เพราะโรคกระดูกพรุนพบมากในผู้สูงอายุ อายุประมาณ 60 ปีขึ้นไป และแน่นอนว่าแทบจะทุก ๆ บ้านล้วนมีผู้สูงอายุทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น คุณพ่อ คุณแม่ คุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย เพราะฉะนั้นสำคัญมาก ๆ เลยนะคะ ในการดูแลและอาหารการกินเป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ ค่ะ

 

โรคกระดูกพรุนส่วนใหญ่ ยังพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เพราะผู้หญิงจะมีการลดลงของเนื้อกระดูกอย่างมากในช่วง 5 ปีแรกหลังหมดประจำเดือน นอกจากนี้ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนยังพบได้ในภาวะผู้ป่วยที่ได้รับการตัดรังไข่ 2 ข้าง ผู้ป่วยโรคทางเดินอาหารที่มีความผิดปกติในการดูดซึมสารแคลเซียม ผู้ป่วยที่รับประทานยาบางชนิด เช่น สารสเตียรอยด์ หรือยากันชัก รวมถึงผู้ป่วยที่เป็นโรครูมาตอยด์ หรือตับอักเสบเรื้อรังก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมากขึ้น

 

โดยทั่วไปผู้ป่วยที่เป็นโรคกระดูกพรุนจะไม่มีอาการใด ๆ จนกว่าจะมีอาการแสดงซึ่งได้แก่กระดูกหัก ตำแหน่งที่พบบ่อยในโรคกระดูกพรุน ได้แก่ บริเวณข้อมือ ข้อสะโพก หรือกระดูกสันหลัง ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ เช่น อาการปวดหลังเรื้อรัง รูปร่างผิดปกติ เสียสมดุลการเดิน และการทำงานของอวัยวะภายในช่องท้องและทรวงอกผิดปกติ

สำหรับการรักษาโรคกระดูกพรุนด้วยยาในปัจจุบันมีอยู่ 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ ยากลุ่มที่ลดอัตราการสลายกระดูก และยากลุ่มที่เสริมสร้างมวลกระดูก ทั้งนี้การใช้ยารักษาโรคกระดูกพรุนควรจะอยู่ภายใต้คำแนะนำที่เหมาะสมจากแพทย์ เนื่องจากยาแต่ละประเภทมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน

ฉะนั้น การป้องกันจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด โดยการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียม ได้แก่ โยเกิร์ต ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ปลาตัวเล็กที่รับประทานได้ทั้งกระดูก รวมถึงการรับวิตามินดีจากแสงแดด และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอประมาณ 15-20 นาที ทุกวัน จะช่วยได้ค่ะ

และเราได้นำเมนูป้องกันกระดูกพรุน และของว่าง มาฝากด้วยนะคะ เผื่อลูก ๆ หลาน ๆ บ้านไหนอยากทำให้คุณพ่อ คุณแม่ คุณปู่ คุณย่า ทานกัน ลองทำตามกันได้เลยนะคะ รับรองว่าง่าย ทำได้แน่นอนค่ะ

 

เมนูที่1 ไข่ตุ๋นเต้าหู้อ่อน อาหารอ่อน ๆ เหมาะกับผู้สูงวัยค่ะ

ร่างกายมนุษย์จำเป็นต้องมีสารโภชนาการ 7 ประเภท ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน เซลลูโรส แร่ธาตุ ไขมัน และน้ำ ไข่ไก่มีประโยชน์เกือบทุกอย่าง ยกเว้นเซลลูโรส แต่ถ้ารับประทานไข่ไก่มากเกินควรอาจจะทำให้กระเพาะและลำไส้ทำงานหนักขึ้น และต้องรับประทานไข่ไก่ที่สุกเต็มที่ เพราะถ้าสุกๆ ดิบๆอาจมีเชื้อโรคตกค้างอยู่ และต้องเป็นไข่ออร์แกนิกนะคะ

 

รูปภาพจาก pixels 

คลิกดูวิธีการทำที่นี่

 

 

เมนูที่2 แกงส้มดอกแค ทำให้คนที่คุณแคร์ทานสิคะ

ดอกแค อาจเป็นเครื่องเคียงจิ้มน้ำพริกที่อร่อยถูกปาก มีรสเย็นที่ช่วยดับความเผ็ดร้อน และความหอมของมัน แต่ก็มีข้อควรพึงระวังอยู่เหมือนกัน โดยเฉพาะการนำมากินทั้งดอกจะต้องเอาเกสรของดอกแคออกเสียก่อน จะช่วยลดความขมลงได้ บางคนสงสัยว่ากินแต่ละครั้งไม่เหมือนกัน บ้างก็อร่อยดี บ้างก็ขมไป ส่วนที่ขมเกิดจากเกสรของมันนั่นเอง

ดังนั้นเมื่อเอาเกสรออกแล้วต้องนำไปลวกจะช่วยลดความเหม็นเขียว และรสฝาดของเกสรออกไปได้ แต่บางคนชอบกินรสขมๆ แบบนี้จะไม่เด็ดเกสรออกก็ได้ไม่ว่ากัน แต่ก็มีข้อห้ามบางประการที่กินดอกแคมากๆ อาจอาเจียนออกมาได้ เพราะเป็นพืชเย็นที่ดูดน้ำในท้องเยอะ อาจทำให้ขย้อนออกมาได้ง่าย

ส่วนวิธีการเลือกก็ไม่ยาก ยอดอ่อน รวมไปถึงใบอ่อนของดอกแคจะมีคุณภาพมากๆ ในช่วงหน้าฝน ส่วนการเลือกดอกแคจะหน้าไหนก็ได้แต่ดีที่สุดคือหน้าหนาว ดอกจะอวบอูมเต็มที่

คลิกดูวิธีการทำที่นี่

 

 

เมนูที่3 ของว่าง ขนมงาดำน้ำเต้าหู้

งาดำ งาดำอุดมด้วยสารอาหารมากมาย แต่ที่โดดเด่นจริง ๆ สามารถได้รับจากอาหารโดยตรงโดยไม่ต้องผ่านการสกัดใดๆ จากห้องปฏิบัติการก็คือแคลเซียมค่ะ

 

รูปภาพจาก pixels 

คลิกดูวิธีการทำที่นี่

 

ก็ครบแล้วนะคะกับเมนู วิธีกินอย่างไรให้ไม่พรุน น่ากินมาก ๆ เลยใช่ไหมคะ ว่างๆ ลองทำกินกันดูนะ รับรองเลยว่าต้องติดใจกันแน่ ๆ ค่ะ

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก goodlifeupdate