เคล็ดลับสู้โรคไต ใช้ดีจึงบอกต่อ สไตล์คนพิจิตร

เคล็ดลับสู้โรคไต ใช้ดีจึงบอกต่อ สไตล์คนพิจิตร

ป้องกันโรคไต เคล็ดลับง่ายๆ สไตล์คนพิจิตร

ป้องกันโรคไต.. ง่ายๆ กับ คลินิกป้องกันไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายเชื่อมโยงโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และชุมชน” ที่เรียกว่า ซีเคดี หรือCKD (Chronic Kidney Disease) ซึ่งเป็นพื้นที่ให้บริการแก่ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

ในคลินิกซีเคดี ผู้เขียนได้พบกับผู้ป่วยหลายท่านที่สามารถควบคุมอาการของโรคไตเรื้อรังไม่ให้ลุกลามได้และสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติเหมือนคนทั่วไป จึงอยากถ่ายทอดบอกต่อแก่ผู้อ่านเลือกกินสักนิดไตทำหน้าที่ขับของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญอาหารประเภทโปรตีนควบคุมปริมาณน้ำและเกลือแร่ที่เกินความจำเป็นออกทางปัสสาวะ รวมถึงกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย

นายแพทย์ภูริวัจน์ อุ่นบาง อายุรแพทย์โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชตะพานหิน กล่าวว่า

“เมื่อโรคไตวายถามหา การขับของเสีย เก็บของดี รักษาสมดุลน้ำและเกลือแร่จึงทำงานผิดปกติ ร่างกายก็ย่ำแย่ลง การควบคุมอาหารให้เหมาะสมเพื่อลดภาระการทำงานของไตจะช่วยให้เกิดโรคแทรกซ้อนน้อยลงและชะลอการเสื่อม
ของไตได้”

 

4 ข้อป้องกันโรคไต

 

1. งดสูบบุหรี่

 

 

เพราะไตทำหน้าที่ในการขับสารพิษออกจากร่างกาย การสูบบุหรี่จะทำให้ร่างกายได้รับสารพิษมากกว่า 50 ชนิด จึงส่งผลให้ไตทำงานหนักมาก

 

2. ลดอาหารเค็มหรือโซเดียม

 

 

ซึ่งก็คือเกลือแร่ที่มีบทบาทต่อการควบคุมปริมาณน้ำและความดันเลือด ในภาวะที่ไตไม่สามารถขับโซเดียมออกจากร่างกายได้ จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการบวมและความดันเลือดสูง เราจะพบโซเดียมมากในเกลือ น้ำปลา ซอสต่าง ๆ อาหารที่ใส่ผงชูรส และอาหารหมักดอง

 

3. ควบคุมโปรตีน

 

 

 

ถ้ากินโปรตีนมากจะมีของเสียผ่านไตมากและไตจะเสื่อมเร็ว ปริมาณที่แนะนำคือ 0.6 -0.8 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือเนื้อสัตว์ที่มีไขมันน้อย เช่น ปลา มื้อละ 2 ช้อนโต๊ะ หลีกเลี่ยงอาหารจากถั่วบางชนิด เช่น เต้าหู้ นมถั่วเหลือง ลูกชุบ

 

 

4. จำกัดโพแทสเซียม

เนื่องจากโพแทสเซียมมีผลต่อการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ หากไตที่มีความสำคัญในการรักษาความสมดุลของโพแทสเซียมทำงานบกพร่อง จะเกิดภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูงทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนอย่างหัวใจเต้นผิดปกติหรืออาจถึงขั้นหัวใจวายเสียชีวิตได้ ฉะนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการกินผักผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น กล้วย กีวีขนุน ฝรั่ง ทุเรียน แตงโม มะม่วงสุก ดอกกะหล่ำ แครอต ผักบุ้ง เป็นต้น

 

 

Did you know?

ในผงชูรสนั้นจะมีโมโนโซเดียมกลูตาเมตที่ช่วยเพิ่มรสชาติอาหาร แต่ในอาหารบางชนิดอาจมีไดโซเดียมอยู่ซึ่งมีฤทธิ์แรงกว่าโมโนโซเดียมกลูตาเมตหนึ่งเท่าตัว เช่น
อาหารกึ่งสำเร็จรูป ผงซุป ซึ่งคุณหมอภูริวัจน์แนะนำให้สังเกตจากส่วนประกอบที่ฉลาก ดังนั้น ผู้ป่วยโรคไตตั้งแต่ระยะที่ 2 ขึ้นไปควรระมัดระวังในการบริโภคนะจ๊ะ

 

 

มาป้องกันโรคไต แบบง่ายๆกันเถอะ

 

 


ขอขอบคุณรูปภาพจาก unsplash
ขอขอบคุณรูปภาพจาก pixels
ขอขอบคุณข้อมูลจาก goodlifeupdate