หัวเราะบำบัด ปรับสมดุลอารมณ์ ลดเบาหวาน
หัวเราะบำบัด ศาสตร์การรักษาเเละป้องกันโรครูปแบบหนึ่ง ที่สามารถช่วยแก้ปัญหาสุขภาพของเราได้ โดยเฉพาะช่วยลดความเครียด ต้นเหตุของการเกิดโรคต่างๆ ไม่เว้นแม้แต่เบาหวาน ก็สามารถช่วยได้เช่นกัน
อาจารย์สาทิส อินทรกำแหง อธิบายว่า เมื่อเกิดความเครียด ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอล (cortisol) มากขึ้นผิดปกติ ซึ่งทําให้ระดับน้ําตาลในเลือดสูงขึ้น ทั้งยังมีผลต่อการตอบสนองของอินซูลิน ส่งผลให้ไม่สามารถควบคุมระดับน้ําตาลได้
ดังนั้น จึงควรศึกษาวิธีลดความเครียดแบบต่างๆ แล้วประยุกต์เป็นวิธีที่ดีที่สุด
สําหรับตนเองหัวเราะลดเครียด ยาแก้เบาหวานครอบจักรวาล ในวันตรวจเบาหวานประจําเดือนที่รพ.สต.หว้านใหญ่แห่งเดียวกันนี้ คุณวาสนา พลเตชา เจ้าพนักงานสาธารณสุขชํานาญงาน ทําหน้าที่สอนการหัวเราะบําบัดให้ผู้ป่วยเบาหวาน
“ผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่มีอาชีพทํานา จึงเครียดเรื่องเศรษฐกิจและความอยู่รอดของครอบครัวมากกว่าความเจ็บป่วยของตัวเอง พออารมณ์แปรปรวนก็ควบคุมระดับน้ําตาลไม่ได้
“หลายคนหัวเราะยาก เล่าเรื่องตลกก็แล้ว แซวก็แล้ว ยังไม่หัวเราะ จึงต้องนําวิธีหัวเราะแบบมีหลักการเป็นขั้นเป็นตอนเข้ามาช่วย”
หลักการนั้นได้แก่ การหัวเราะคําว่า โอ อา อู เอ และอืม ตามลําดับ ให้เสียงดังและแรง แต่ละคําจะหัวเราะทั้งเสียงสั้นและยาว (ยกเว้นเสียงอืมที่หัวเราะเฉพาะเสียงยาว)เสียงสั้น คือ หัวเราะทีละคําอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะหมดลมหายใจ
ส่วนนเสียงยาว คือ ลากเสียงหัวเราะยาวจนกว่าจะหมดลมหายใจ ขณะเดียวกัน เมื่อออกเสียงคําใดจะต้องเกร็งอวัยวะส่วนที่กําหนดตามไปด้วย (ยกเว้นเสียงอืม) เพื่อให้ได้ประโยชน์เต็มที่ ดังนี้
โอ- เกร็งท้อง อา – เกร็งหน้าอก อู- เกร็งคอ และ เอ-กัดฟันเบาๆหัวเราะ ทั้งห้าเสียงนับเป็น 1 เซต ควรทําวันละ 1-2 เซต
ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน คุณผ่องศรี ญาติบํารุง อายุ67 ปี เป็นนักหัวเราะตัวยง
“ปลายปีพ.ศ.2552 ป้ามาฝึกหัวเราะกับคุณวาสนา พอลองปรับให้เข้ากับตัวเองแล้วหัวเราะเป็นประจํา รู้สึกว่าสบายใจขึ้นจิตใจแจ่มใส ไม่เครียดเลย”
คุณผ่องศรีประยุกต์หลักการหัวเราะของคุณวาสนามาเป็นสูตรของตัวเอง ซึ่งทําตามไม่ยาก แค่เลือกบริเวณที่อากาศปลอดโปร่งและสามารถมองเห็นดวงอาทิตย์ได้
“ทุกเช้ามืด ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นเล็กน้อย ให้ยืนหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ยืนสบายๆ หายใจเข้าและออกลึกๆ พอแสงอาทิตย์ขึ้นรําไรก็เริ่มหัวเราะออกมาดังๆทีละคํา พอถึงคําสุดท้ายให้ลากเสียงหัวเราะยาวจนกว่าจะหมดลมหายใจ”
คําที่ว่านั้น เช่น ฮ่า ฮ่า ฮ่า หรือเสียงอื่นที่ตนถนัดแล้วหัวเราะอย่างนี้สามครั้ง ครั้งที่หนึ่งให้เสียงดังเป็นปกติครั้งที่สองให้เสียงดังขึ้นปานกลาง ส่วนครั้งสุดท้ายให้หัวเราะ
เสียงดังที่สุด แต่พยายามอย่าตะเบ็งเสียง ระหว่างนั้นคุณผ่องศรีบอกว่า ตาต้องคอยมองตามดวงอาทิตย์ตลอดด้วย ภายในสามเดือนของการฝึกหัวเราะ ระดับน้ําตาลในเลือดของคุณผ่องศรีลดจาก 180 เหลือ 140 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์โดยไม่ต้องกินยา
ช้ากันอยู่ไย ลุกขึ้นมา หัวเราะบำบัด แก้โรคกัน
ที่มา: คอลัมน์เรื่องพิเศษ,เอื้อมพร และพรรณรวี
ขอขอบคุณรูปภาพจาก unsplash
ขอขอบคุณรูปภาพจาก pixels
ขอขอบคุณข้อมูลจาก goodlifeupdate