หลัก 7 ไม่ 5 ต้อง ลดเสี่ยงเบาหวาน
หลัก 7 ไม่ 5 ต้อง หลักการปฏิบัติของชาวบ้านอำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี เพื่อเป็นการรณรงค์ลดพฤติกรรมเสี่ยงโรคเบาหวาน
แม้ คุณปาณิสรา กิจสําเร็จ พยาบาลวิชาชีพชํานาญการ จะเฝ้าประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านในอําเภอโคกสําโรง จังหวัดลพบุรี เลิกพฤติกรรมเสี่ยงเบาหวานอย่างไร แต่คนส่วนใหญ่กลับรู้สึกเบื่อหน่ายบรรดาป้ายประชาสัมพันธ์หรือแผ่นพับที่คอยแจกตามโรงพยาบาล
โชคดีที่เห็นชาวบ้านชอบฟังลําตัด คุณปาณิสราจึงให้ครูเพลงนําหลักปฏิบัติป้องกันโรคเบาหวานของคนในชุมชน ซึ่งเรียกว่า หลัก “7 ไม่ 5 ต้อง” มาแต่งเป็นเพลงลําตัดสําหรับใช้ประชาสัมพันธ์ จากนั้นจึงฝึกอสม.ให้ร้องลําตัดเป็นกันทุกคนจนชํานาญ
หลัก “7 ไม่ 5 ต้อง” ได้แก่ ไม่อ้วน ไม่เค็ม ไม่หวาน ไม่มัน ไม่เครียด ไม่สูบ ไม่ดื่ม ต้องออกกําลังกาย ต้องเพิ่มผักผลไม้ ต้องกินอาหารปลอดภัย ต้องควบคุมน้ําหนัก และต้องอารมณ์ดี ถึงวันตรวจคัดกรองเบาหวานหรือวันรับเบี้ยสูงอายุประจําเดือน รวมถึงโอกาสพิเศษ เช่น งานมหกรรมสุขภาพ วันสําคัญทางศาสนา คณะลําตัดอสม.นําโดยคุณคําเพียร ด้วงพันธุ์ อายุ40 ปี จะตระเวนไปร้องลําตัดให้ความรู้ไม่ขาด เธอมีภาวะอ้วน (น้ําหนัก 89 กิโลกรัม) และถูกจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน
ครั้นได้นําร้องลําตัดบ่อยๆตั้งแต่มกราคม ปีพ.ศ.2553 ทําให้คุณคําเพียรจดจําเนื้อร้องเพลง “7 ไม่ 5 ต้อง” ได้ขึ้นใจ จึงฉุกคิดได้ว่า หากทําตามคําเพลงว่าแล้วไซร้ โรคเบาหวานย่อม ไม่ถามหา คุณคําเพียรตัดสินใจปฏิวัติพฤติกรรมตัวเอง ดังนี้
กินอาหารด้วยสูตร 2 : 1 : 1 (ผัก : โปรตีน : คาร์โบไฮเดรต) โดยปรุงให้รสอ่อนเค็มและหวาน
และกินผลไม้อย่างน้อยวันละ 1-2 กิโลกรัม เลือกที่รสไม่หวานจัด เช่น ฝรั่ง ชมพู่
เลิกกินขนมหวานจุบจิบ ไม่ซื้อขนมมาตุนไว้ในตู้เย็น จากเคยกินครั้งละ 4 ชิ้นก็ลดเหลือ 1 ชิ้น พยายามไม่แวะร้านขนม หรือหากอยากกินก็ซื้อแต่น้อย แล้วเดินออกจากร้านทันที
ลดการเติมน้ำตาลในอาหารไปด้วย จากเติมครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะพูนๆ ก็ลดลงครั้งละ 1 – 2 ช้อนโต๊ะต่อสองเดือน เป็นการลดแบบค่อยเป็นค่อยไป
เล่นฮูลาฮูปหรือเต้นแอโรบิกทุกวัน หากสัปดาห์ไหนไม่ว่าง จะต้องออกกําลังกายให้ได้อย่างน้อย 3 วัน วันละ 30 นาที– 1 ชั่วโมง
หนึ่งปีผ่านไป น้ำหนักของเธอลดเหลือ 80 กิโลกรัม สุขภาพด้านอื่นๆก็ดีตามมา กระทั่งได้รับคัดเลือกให้เป็นบุคคลต้นแบบของการปฏิบัติตามหลัก “7 ไม่ 5 ต้อง”
ทุกวันนี้ หากใครมีโอกาสไปเยือนตําบลดงมะรุม คงเพลิด-เพลินกับเสียงร้องลําตัดของคุณคําเพียรที่เปิดเสียงตามสายกันถ้วนหน้า
“ปฏิบัติสังคม” ร่วมด้วยช่วยลดเบาหวาน สังคมดีพิฆาตเบาหวาน
เมื่อรถตู้ของเราจอดด้านหน้าศูนย์เรียนรู้บ้านนาหว้า ตําบลนาสะเม็ง อําเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งเพิ่งได้รับยกย่องให้เป็นหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค (รายละเอียดในล้อมกรอบ) ทีมงานชีวจิตก็ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากลุงป้าน้าอาพี่น้องผู้รักสุขภาพมากกว่าร้อยชีวิต
คุณบังอร พิมพ์บุญมา พยาบาลวิชาชีพชํานาญการ สํานักงานสาธารณสุขอําเภอดอนตาล เล่าให้ฟังว่า “กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานในหมู่บ้านนี้มีมากกว่า 30 คน เรานัดหมายให้มาตรวจสุขภาพเดือนละครั้ง หรือถ้าช่วงเกี่ยวข้าวดํานาก็อาจจะนัดห่างออกไปเป็นสองเดือน”
ในการตรวจวินิจฉัยเพื่อติดตามอาการโรคเบาหวาน ก็มีขั้นตอนเหมือนหน่วยงานสาธารณสุขทั่วไป คือ ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง เพื่อคํานวณค่าดัชนีมวลกาย ซึ่งผลลัพธ์ไม่ควรเกิน 23 วัดรอบเอว ซึ่งไม่ควรเกิน 80 เซนติเมตรในผู้หญิง และ 90 เซนติเมตรในผู้ชาย ตรวจสุขภาพเท้า โดยการกดจุดใต้ฝ่าเท้าด้วยอุปกรณ์ ที่เรียกว่าโมโนฟิลาเมนต์ (monofilament) ซึ่งมีลักษณะเหมือนเส้นเอ็น เพื่อตรวจหาอาการมึนชาหรือผนังเท้าหนาผิดปกติ สุดท้ายคือ การตรวจตา
กิจกรรมพิเศษสําหรับกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานบ้านนาหว้า คือ การเชิญให้ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับการลดระดับน้ำตาลในเลือด มาแบ่งปันประสบการณ์ พร้อมทั้งรับคําแนะนําจากอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน ว่าควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างไร เพื่อเป็นการให้ความรู้แก่เพื่อนผู้ป่วยคนอื่นๆไปด้วย
นอกจากนี้ยังเชิญผู้ป่วยที่ประสบความสําเร็จในการลดระดับน้ําตาลในเลือด มาบอกเล่าวิธีการที่ทําให้สุขภาพย่ําแย่เพราะโรคเบาหวานกลับมาแข็งแรงฟิตเปรี๊ยะอีกครั้ง
โครงการเฉลิมพระเกียรติ 57 พรรษา มหาวชิราลงกรณ หมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด ริเริ่มโดยสํานักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2552 โดยมุ่งเน้นให้ประชาชนมีสุขภาพดี โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตส่งเสริมการออกกําลังกาย เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ปลูกผักปลอดสารพิษไว้กินเอง และสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกระดับอย่างจริงจัง
ที่มา: คอลัมน์เรื่องพิเศษ,เอื้อมพร และพรรณรวี
ขอขอบคุณรูปภาพจาก unsplash
ขอขอบคุณรูปภาพจาก pixels
ขอขอบคุณข้อมูลจาก goodlifeupdate