เมื่อไตทำงานไม่ได้จะเกิดปัญหาคือ
1. ร่างกายขับของเสียไม่ได้ ทำให้เกิดภาวะของเสียคั่งค้างอยู่ในร่างกายเกินปกติ เกิดเป็นพิษ รบกวนการทำงานของอวัยวะต่างๆ เช่น สมอง หัวใจ ตับ ให้ทำงานน้อยลง
2. ร่างกายเสียสมดุลของน้ำและเกลือแร่ โดยคนไข้ โรคไต จะมีภาวะน้ำเกินเพราะ ไตไม่ขับปัสสาวะ กินน้ำเข้าไปจึงคั่งอยู่ในตัว ถ้าเกินในระดับที่ร่างกายทนไม่ไหวจะเกิดน้ำท่วมหัวใจและน้ำท่วมปอด อาจทำให้เสียชีวิตได้
3. ร่างกายจะไม่มีฮอร์โมนที่จะไปกระตุ้นไขกระดูกให้สร้างเม็ดเลือดแดง ทำให้กลายเป็นโรคโลหิตจางได้
รูปภาพจาก unsplash
การบำบัดทดแทนไตมีอะไรบ้าง
เมื่อไตไม่ทำงานแล้ว การจะต่อชีวิตให้ยืนยาวออกไปจึงต้องอาศัยการบำบัดทดแทนไต การบำบัดทดแทนไตมีอยู่ด้วยกัน 3 วิธี คือ
1. การฟอกเลือดด้วยเครื่อง ไต เทียม (Hemodialysis) เครื่องไตเทียมคือเครื่องมือที่ช่วยกำจัดของเสียออกจากเลือดแทนไตจริง หลักการคือ การทำให้เลือดของคนไข้ไหลเข้าไปในเครื่อง ไต เทียม โดยผ่านไปอยู่ระหว่างท่อเยื่อบางๆ เยื่อนี้มีรูเล็กๆ สารที่มีขนาดเล็กจึงผ่านเข้าออกได้ ภายในท่อเยื่อนี้จะมีน้ำยาไหลผ่านตลอดเวลา น้ำยานี้มีส่วนประกอบต่างๆ คล้ายคลึงกับส่วนประกอบของเลือดคนปกติ ระหว่างที่เครื่อง ไต เทียมทำงานนั้นของเสียที่คั่งอยู่ในเลือดก็จะซึมผ่านรูเล็กๆ ออกมาในน้ำยา และเครื่องจะส่งเลือดกลับสู่ร่างกายคนไข้อีกครั้ง
แต่ก่อนที่จะฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมนั้น คนไข้ต้องผ่าตัดต่อเส้นเลือดสำหรับการฟอกเลือด โดยส่วนใหญ่จะผ่าตัดต่อเส้นเลือดแดงกับเส้นเลือดดำ บริเวณแขน โดยคนไข้จะทำการฟอกเลือดประมาณ สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 4-5 ชั่วโมง
ซึ่งปัจจุบันนี้มีศูนย์ฟอกเลือดอยู่กว่า 200 แห่งทั่วประเทศ โดยโรงพยาบาลรัฐและมูลนิธิที่มีค่าใช้จ่ายถูก มีคนไข้อีกจำนวนมากที่มาขอรับบริการแต่ไม่สามารถทำได้เพราะมีเครื่องฟอกไตในจำนวนจำกัดการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ครั้งละประมาณ 2,000 บาท (ในโรงพยาบาลรัฐ) สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ดังนั้น 1 เดือน จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่ากับ 16,000 บาท ยังไม่รวมอุปกรณ์การแพทย์เป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่มีที่สิ้นสุด
2.การล้าง ไต ทางช่องท้อง (Continuous ambulatory perineal diaslysis : CAPD)
การล้าง ไต ทางช่องท้อง คือการเจาะหน้าท้องและคาท่อเล็กๆไว้เพื่อใส่น้ำยาล้างไตเข้าไปในช่องท้อง โดยน้ำยาจะมีส่วนผสมของเกลือแร่ชนิดต่างๆ และน้ำตาลชนิดเดร็กโตรส เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนของเสียจากร่างกาย โดยแช่ทิ้งไว้ประมาณ 4-6 ชั่วโมง แล้วจึงปล่อยน้ำยาออก ทำซ้ำๆ อย่างน้อย 4 ครั้งต่อวัน ก่อนเข้ารับการบำบัดด้วยวิธีนี้ แพทย์จะต้องเจาะช่องท้องเพื่อ วางท่อสายยางล้างช่องท้อง วิธีการนี้สะดวกเพราะคนไข้สามารถกลับไปทำเองได้ที่บ้านน้ำยา dialysis 1 กล่อง (4 ถุง) ประมาณ 400 บาท ทำทุกวัน ดังนั้น 1 เดือนจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่ากับ 12,000 บาท การบำบัดทดแทน ไต ด้วยวิธีนี้เหมือนกับการฟอกเลือดด้วยเครื่อง ไต เทียมที่คนไข้ต้องทำไปตลอดชีวิต รวมถึงต้องมีการกินยา และพบแพทย์เพื่อตรวจอาการ เป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่มีวันจบสิ้นเช่นกัน
3. การปลูกถ่าย ไต (Kidney transplantation) การปลูกถ่ายไตเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการบำบัดทดแทน ไต คือการผ่าตัดเอา ไต จากผู้อื่นไปใส่ให้กับคนไข้ที่เป็นโรค ไต วายระยะสุดท้าย หลักสำคัญอยู่ที่ว่าผู้ให้ ไต และผู้รับ ไต ต้องมีเนื้อเยื่อเข้ากันได้ โดย ไต ที่ได้จากคนมีชีวิตต้องได้จากพ่อ แม่ หรือ พี่น้องท้องเดียวกันเท่านั้น ถ้า ไต เข้ากันได้คนไข้จะมีชีวิตที่ดีขึ้นกว่าการใช้ ไตเทียมมาก คนไข้ที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยน ไต แล้วจำเป็นต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ และต้องรับประทานยาลดภูมิต่อต้านปฏิกิริยาอยู่เสมอ นอกจากนี้คนไข้โรค ไต วายเรื้อรังยังต้องรับประทานยาอีกหลายชนิดแล้วแต่สภาพร่างกายของคนไข้ เช่น ยากลุ่มแคลเซียม ยาลดความดันโลหิต แต่ที่จะขาดไม่ได้คือการฉีดฮอร์โมนอีริโธรปอยอิติน (Erythopoietin) ซึ่งจะช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง ไม่ให้คนไข้เป็นโรคโลหิตจาง
การปลูกถ่าย ไต ค่าจ่ายใช้ประมาณ 100,000 บาทต่อคน รวมกับยากดภูมิคุ้มกันที่คนไข้ต้องกิน หลังการเปลี่ยน ไต อีกประมาณ 100,000 บาทต่อปี ดังนั้นค่าใช้จ่ายในปีแรกจะประมาณที่ 200,000 บาทต่อปี คนไข้สามารถกลับไปใช้ชีวิตเหมือนคนปกติทั่วไปได้ ไม่ต้องทำการบำบัดทดแทน ไต ซึ่งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายลงไปมาก แต่ก็ยังต้องกินยากดภูมิไปตลอดชีวิตแต่ก็ยังมีราคาถูกกว่าวิธีการอื่น ๆ
ประกันสังคมคุ้มครองคนไข้โรคไตอะไรบ้าง
1. คุ้มครองค่าฟอกเลือดด้วยเครื่อง ไต เทียมจ่ายให้ 1,500 ต่อครั้ง โดยไม่เกินสัปดาห์ละ 3,000 บาท
2. คุ้มครองการล้าง ไต ทางช่องท้องเดือนละ 15,000 บาท
3. คุ้มครองการปลูกถ่าย ไต เปลี่ยนไต
โดยคนไข้ประกันตนจะต้องไม่เป็นโรค ไต วายขั้นสุดท้ายมาก่อนการเริ่มเป็นผู้ประกันตน ส่วนขั้นตอนนั้นมีวิธีการดังนี้
1. ผู้ประกันตนที่ประสงค์จะเข้ารับบริการทางการแพทย์โดยการฟอกเลือดด้วยเครื่อง ไต เทียม และการล้าง ไต ทางหน้าท้องจะต้องยื่นคำขอรับการฟอกเลือดด้วยเครื่อง ไต เทียม ต่อสำนักงานประกันสังคมสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ สำนักงานประกันสังคมจังหวัด หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสาขาที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบหรือทำงานประจำอยู่
2. ต้องแนบเอกสารหลักฐานประกอบคำขอดังนี้คือ
2.1 ผลการตรวจพิสูจน์ Serum Bun, Serum Creatinine, อัตราการกรองของเสียของไต หรือ Creatinine Clearance และขนาดของไต
2.2 หนังสือรับรองการเจ็บป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายจากอายุรแพทย์โรคไต
3. จากนั้นแพทย์จะทำการพิจารณาและอนุมัติให้คนไข้เข้าฟอกเลือดได้ตามสถานพยาบาล โรงพยาบาล หรือมูลนิธิที่ทำข้อตกลงกับประกันสังคมไว้
ติดตามสวัสดิการอื่นๆ ได้ใน สวัสดิการประกันสุขภาพถ้วนหน้า(บัตรทอง)ก่อนปี 51
คุณปัญญาวุฒิ มูลมานัส “ผมใช้สิทธิบัตรทองหรือ 30 บาทรักษาทุกโรค ซึ่งไม่ได้คุ้มครองค่าใช้จ่ายการฟอกเลือด พ่อแม่จึงเป็นคนออกค่าใช้จ่ายครับ ทั้งคู่เป็นชาวนาเงินเก็บก็แทบจะไม่ค่อยมีอยู่แล้ว ต้องหาเงินมาช่วยผมเหนื่อยจนสายตัวแทบขาด ปกติผมต้องฟอกเลือดสัปดาห์ละ 2 ครั้งแต่เพราะไม่มีเงิน เลยมาฟอก ไต อาทิตย์ละครั้ง ผลคือตอนนี้ผมมีโรคหัวใจโตซึ่งเป็นโรคแทรกซ้อนที่เกิดตามมาถ้าไม่ไปฟอกเลือด แต่จะทำอย่างไรล่ะ ผมไม่มีเงิน ยาฉีดที่ช่วยในการสร้างเม็ดเลือดปกติต้องฉีดทุกเดือน สำหรับผมบางเดือนก็ฉีด บางเดือนก็ไม่ฉีด พอไม่ฉีดก็ซีด เป็นโลหิตจาง เพลีย เหนื่อยง่ายครับ”
คุณปัญญาวุฒิเล่าให้ฉันต่อว่าเขาได้รับความช่วยเหลือจากมูลนิธิ พอ.สว. ทำให้มีโอกาสเข้ามารับการฟอกเลือดที่มูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย และทำงานช่วยเหลือผู้ป่วยโรคไต โดยเขาเป็นหนึ่งในผู้เรียกร้องให้ สปสช. ขยายความช่วยเหลือผู้ป่วยโรคไตเพิ่มขึ้น
สวัสดิการข้าราชการ
สำหรับข้าราชการ ระบบคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเบิกได้หมด เฉพาะในโรงพยาบาลของรัฐ แต่หากเป็นโรงพยาบาลเอกชนต้องอยู่ในกรณีฉุกเฉิน หรือโรงพยาบาลรัฐไม่มีอุปกรณ์หรือเครื่องมือนั้นๆ ความคุ้มครองที่ได้รับจากระบบคือ
1. การปลูกถ่าย ไต ตลอดกระบวนการรักษา
2. การล้าง ไต ทางช่องท้องเช่นเดียวกัน
3. การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมซึ่งการจ่ายเงินนั้นระบบจะบังคับให้โรงพยาบาลเบิกจ่ายตรงกับกรมบัญชีกลาง โดยเหมาจ่ายครั้งละ 2,000 บาท ทั้งค่าฟอกเลือดและค่ายาเท่ากับว่าทุกครั้งที่ไปฟอกเลือดจึงไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินเลยสักบาท
การใช้สิทธิค่ารักษาพยาบาลของฉันยังคุ้มครองไปถึงคนในครอบครัว ซึ่งได้แก่บุตรที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือบรรลุนิติภาวะแล้วแต่เป็นผู้ไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ คู่สมรส บิดามารดา
ประกันชีวิตจ่ายหรือเปล่า
การจ่ายค่ารักษาหรือไม่ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของผู้ซื้อประกัน และการบริการของแต่ละบริษัทซึ่งส่วนมากจะใกล้เคียงกันคือ ถ้าผู้ซื้อประกันซื้อประกันเต็มรูปแบบคือคุ้มครองสุขภาพทุกอย่างซึ่งในสัญญาจะคุ้มครองโรคร้ายแรงไว้ การป่วยเป็นโรคไตวายเรื้อรังถือว่าเป็นโรคร้ายแรง ผู้ทำประกันจะได้รับเงินประกันเท่ากับวงเงินที่ทำสัญญาไว้ และจะคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลทั้งหมดภายในปีนั้นที่ตรวจพบ หลังจากนั้นส่วนมากบริษัทประกันชีวิตจะไม่ต่อสัญญากับผู้ทำประกันอีก
ขอขอบคุณข้อมูลจาก goodlifeupdate
ข้อมูลเรื่อง “ประกันสุขภาพเพื่อผู้ป่วย โรคไต” จากนิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 29 April 2019