กระดูกพรุน โรคร้ายที่ต้องระวังในผู้สูงวัย
ป้องกันได้ด้วยลูกเดือย
กระดูกพรุน คํานี้ถ้าจะเอาความหมายตามวิชาการแพทย์ พูดอย่างสั้นและรวบรัดที่สุดคือว่า แร่ธาตุสําคัญ หลายตัวเลื่อนไหลออกมาจากมวลกระดูกของคุณ ทําให้กระดูก ของคุณเป็นรู โปร่งบาง
รามา ชาแนล อธิบายว่า โรคกระดูกพรุนคือ โรคชนิดหนึ่งซึ่งมวลกระดูกลดน้อยลง มักเกิดกับสตรีวัยหมดประจำเดือน หรือผู้ชายอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป เกิดจากอัตราการสร้างและการทำลายกระดูกที่ไม่สมดุลกัน โดยปกติแล้วร่างกายมนุษย์จะมีการสร้างและทำลายกระดูกอยู่ตลอดเวลาและอยู่ในสมดุล แต่มีบางภาวะที่อาจส่งผลให้การสร้างและทำลายมวลกระดูกผิดปกติ เช่น ในคนที่หมดประจำเดือน ฮอร์โมนเพศหญิงลดน้อยลง ส่งผลให้มีการทำลายกระดูกมากขึ้นและสร้างได้น้อยลง มวลกระดูกโดยรวมจึงลดน้อยลงกลายเป็นโรคกระดูกพรุนในที่สุด
อาการแทรกซ้อนของโรคกระดูกพรุน
• กระดูกเสียความแข็งแรง กระดูกหักง่าย
• เคลื่อนไหวได้ลดลง ช่วยเหลือตัวเองลำบาก
• หลังโกง หลังค่อม
• ติดเชื้อในกระแสเลือด
• ปอดบวม
• ติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ
• โลหิตเป็นพิษ
• เดินไม่ได้/พิการ
รูปภาพจาก unsplash
• แผลกดทับ (กรณีเป็นผู้ป่วยติดเตียง)
กระดูกข้อสะโพกหักจากกระดูกพรุน เป็นภาวะที่มีอันตรายสูง และถึงกับเสียชีวิตได้ ภาวะกระดูกหักหากเกิดในผู้สูงอายุจะรักษาได้ยาก เพราะกระดูกหักในผู้สูงอายุจะติดช้า มีภาวะแทรกซ้อนค่อนข้างมาก บางรายอาจถึงแก่ชีวิต โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะแทรกซ้อนกระดูกสะโพกหัก อาจทำให้เกิดภาวะทุพพลภาพตามมา หรือเสียชีวิตได้สูง ภายใน 1-2 ปี
กินลูกเดือยป้องกันโรคกระดูกพรุน
อาจารย์นิพนธ์ ฉิมเฉลิม นักโภชนาการอิสระ เผยว่า ลูกเดือยเป็นธัญพืชที่มีวิตามินบี 1 และฟอสฟอรัส ในปริมาณสูงมาก เมื่อเทียบกับธัญพืชชนิดอื่น วิตามินบี 1 ช่วยแก้อาการเหน็บชา ส่วนฟอสฟอรัสช่วยบํารุงกระดูก ฟัน เหมาะสําหรับผู้มีภาวะกระดูกพรุน วัยทอง เป็นอย่างมาก
รูปภาพจาก unsplash
นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยพบว่า ธัญพืชมหัศจรรย์ชนิดนี้ ยังมีสารโคอิกซีโนไลด์(Coixenolide) ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งและช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก goodlifeupdate
แหล่งทีมา ชีวจิต ฉบับที่ 17 May 2019