หมายถึงภาวะที่ทำให้เนื้อกระดูกลดลงเร็วกว่าปกติ
บางคนมีหลายปัจจัยเสี่ยง แต่บางคนก็ไม่มีปัจจัยเสี่ยง
1. ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลง
• เพศหญิงจะมีการเกิดกระดูกพรุนมากและเร็วกว่าผู้ชายเพราะผู้หญิงวัยทองขาด estrogen ทำให้เกิดการละลายของกระดูกมากกว่าปกติ การรับประทานแคลเซียมเป็นประจำช่วยลดภาวะกระดูกหัก
• อายุมากเกิดกระดูกพรุนได้มากกว่าอายุน้อย
• ขนาดของร่างกาย ผู้ที่ผอมและตัวเล็กจะมีกระดูกพรุนได้ง่าย
• เชื้อชาติ
• ประวัติครอบครัว ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเรื่องกระดูกพรุนจะเกิดโรคได้ง่าย
2. ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถแก้ไขได้
• ฮอร์โมนเพศไม่ว่าหญิงหรือชายหากมีฮอร์โมนต่ำก็เกิดกระดูกพรุนได้
• เบื่ออาหาร
• อาหารที่รับประทานมีแคลเซียมต่ำ
• ใช้ยาบางชนิดเป็นประจำเช่น steroid ยากันชัก
• ผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย
• สูบบุหรี่
• ดื่มสุรา
รูปภาพจาก pixels
ขอขอบคุณข้อมูลจาก siamhealth