ภาวะติดน้ำตาล ภัยจากของหวานที่ไม่ควรมองข้าม
เชื่อว่าของหวานนั้นเป็นอาหารโปรดของใครหลายๆ คน โดยเฉพาะสาวๆ การกินหวานนิดๆหน่อยๆ หรือกินพอหายอยากเป็นบางครั้งนั้นไม่ใช่เรื่องน่ากังวลเท่าไรนัก แต่หากกินปริมาณมากๆ จนเคยชิน ต้องกินเป็นประจำทุกวัน ควรระวัง ภาวะติดน้ำตาลไว้ด้วย
ของหวานทำเสียสุขภาพ
อากาศร้อนๆ ของเมืองไทย การเลือกรับประทานอาหารที่มีรสชาติหวานและมีความเย็น ทั้งนี้เพื่อช่วยดับกระหายคลายร้อน ซึ่งอาจจะมีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่น ไอศกรีม ผลไม้ลอยแก้ว น้ำแข็งไส น้ำหวาน และน้ำอัดลม เป็นต้น จนเกิดเป็นความเคยชินว่าอาหารและเครื่องดื่มที่มีรสหวานจะทําให้รู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า หากไม่ได้รับประทานของหวานก็จะรู้สึกไม่มีแรง อ่อนเพลีย หงุดหงิด เราเรียกลักษณะอาการนี้ว่า “ภาวะติดนํ้าตาล”
และเมื่อร่างกายได้รับน้ำตาลในปริมาณมากเกินความต้องการ น้ำตาลเหล่านั้นก็จะแปรรูปเป็นไขมันสะสมไปทั่วร่างกาย ผลที่ตามมาก็คือการเกิดโรคอ้วน โรคเบาหวาน อีกทั้งยังเพิ่มอัตราความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดอีกด้วย
มาทําความรู้จักกับ Glycation และ AGEs
การรับประทานของหวานในปริมาณมากเป็นประจําานั้นส่งผลให้ร่างกายมีระดับนํา้าตาลในเลือดสูง ก่อให้เกิดปฏิกิริยาไกลเคชั่น (Glycation) อันเป็นสาเหตุของความชราก่อนวัยอันควร
เนื่องจากโมเลกุลของน้ำตาลที่เรารับประทานเข้าไปจะไปเกาะติดกับโปรตีน ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของอวัยวะรวมถึงเซลล์ต่างๆ ภายในร่างกาย ก่อให้เกิดสารตัวหนึ่งที่เรียกว่า AGEs (Advanced Glycation End-Products )
เมื่อสารตัวนี้ผ่านเข้าสู่เซลล์ต่างๆ ของร่างกายก็จะส่งผลให้เซลล์บริเวณนั้นตายหรือเสื่อมสมรรถภาพในการทําางานลง จากการวิจัยพบว่า AGEs เป็นตัวทําาลายคอลลาเจนรวมไปถึงใยโปรตีนในผิวหนัง ส่งผลให้เกิดริ้วรอยและมีจุดด่างดําตามมา นอกจากนี้ยังมีผลกระทบต่อเซลล์สมองก่อให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ อีกทั้งยังเป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง เนื่องจากโมเลกุลของน้ำตาลที่ไปเกาะโปรตีนในหลอดเลือดนั้นส่งผลให้ความยืดหยุ่นของหลอดเลือดลดลง
7 วิธีลดหวาน ต้านแก่
1. เลือกดื่มน้ำเปล่าแทนน้ำหวาน
น้ำทำหน้าที่ในการกําาจัดของเสียออกจากร่างกาย และอีกทั้งยังให้ความชุ่มชื้นแก่เซลล์ โดยปกติเราควรดื่มนํา้าวันละ 8 แก้วขึ้นไป การดื่มน้ำน้อยนอกจากจะทำให้ผิวไม่สดใสแล้วยังส่งผลให้อวัยวะต่างๆ ทําางานหนักอีกด้วย
2. รับประทานผลไม้สดแทนขนมหวาน
ผลไม้นั้นมีวิตามิน เกลือแร่ และใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย ผลไม้มีรสหวานจากฟรักโทส (fructose) และกลูโคส สามารถช่วยทำให้ร่างกายสดชื่นโดยที่ไม่ต้องรับน้ำตาลในปริมาณที่มากเกินไป
3. เลือกชนิดของขนมหวานที่จะรับประทาน
ในกรณีที่หลีกเลี่ยงการรับประทานขนมหวานไม่ได้ แนะนำให้เลือกชนิดของอาหารที่จะนําามาประกอบเป็นของหวาน ยกตัวอย่างเช่น น้ำแข็งไสหรือหวานเย็น ควรรับประทานควบคู่ กับธัญพืชที่มีใยอาหารสูง ประเภท ลูกเดือย ถั่วแดง ถั่วเขียว ข้าวโพด เป็นต้น
ใยอาหารมีส่วนช่วยในการชะลอการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่ร่างกาย ทำให้อิ่มท้องได้นาน ลดความอยากของหวาน และลดความอ้วนได้ดี
4. หลีกเลี่ยงหรือลดปริมาณการเติมนํ้าตาลลงในอาหารและเครื่องดื่ม
ในที่นี้หมายถึงนํา้าตาลทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น น้ำตาลทราย น้ำตาลทรายแดง น้ำผึ้ง ไซรัป และไฮฟรักโทสคอร์นไซรัป (high fructose corn syrup) หรือ น้ำตาลที่สกัดจากข้าวโพดเป็นต้น
5. บ้วนปากทุกครั้งหลังรับประทานของหวาน
เนื่องจากความรู้สึกที่สัมผัสได้ถึงความหวานจากต่อมรับรสชาติภายในช่องปากจะส่งผลให้เกิดความอยากอาหาร และยังเป็นสาเหตุหลักที่ทําาให้ฟันผุ เพราะแบคทีเรียที่ยังคงหลงเหลืออยู่หลังจากรับประทานอาหารจะทําาลายผิวเคลือบฟัน
6. อ่านฉลากโภชนาการข้างบรรจุภัณฑ์
หากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีปริมาณ น้ำตาลมากกว่า 15 กรัม (3 ช้อนชา) ก็ควรจะหลีกเลี่ยง
7. ให้เวลาร่างกายในการปรับตัว
ร่างกายของเราจะใช้เวลาประมาณ 10 วัน ในการปรับสภาพลิ้นที่ติดรสชาติอาหารหวาน ดังนั้นเมื่อเวลาผ่านไปก็จะทําให้ความต้องการน้ำตาลลดลง
ถึงแม้ว่าการรับประทานน้ำตาลมากเกินจะเป็นปัจจัยของโรคเรื้อรังต่างๆ และยังเป็นสาเหตุของความชราก่อนวัยอันควร อย่างไรก็ตามน้ำตาลก็ยังเป็นสิ่งที่มีประโยชน์และจําเป็นต่อร่างกาย โดยมีทําหน้าที่หลักในการให้พลังงาน อีกทั้งยังเป็นอาหารสมองสําหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เมื่อเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ การดื่มน้ำหวานหรืออม ลูกอมก็สามารถทําให้อาการดีขึ้นได้ ในผู้ที่สูญเสียเหงื่อหรือมีอาการท้องเสีย การรับประทานของหวานก็จะทําให้รู้สึกสดชื่นขึ้น ไม่อ่อนแรง
เพราะฉะนั้นหากเราเลือกรับประทานนํ้าตาลในปริมาณที่เหมาะสมให้ถูกต้องตามปัจจัยแวดล้อมของแต่ละบุคคลอันประกอบไปด้วยอายุ เพศ นํ้าหนัก ส่วนสูง และกิจกรรมระหว่างวันก็จะทําให้ร่างกายไม่ขาดสมดุลและไม่ก่อให้เกิดความชราก่อนวัยอันควร
ข้อมูลจาก บทความออนไลน์ นิตยสารวาไรตี้เพื่อสุขภาพ โดย ดร.ฉัตรภา หัตถโกศล อาจารย์ประจําภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ขอขอบคุณรูปภาพจาก unsplash
ขอขอบคุณรูปภาพจาก pixels
ขอขอบคุณข้อมูลจาก goodlifeupdate