เป็นโรคไต จะดูยังไงว่ากินอะไรได้บ้าง ?

เป็นโรคไต จะดูยังไงว่ากินอะไรได้บ้าง ?

แค่ได้ยินว่า เป็นโรคไต เราทุกคนก็มักจะนึกถึงประโยคที่ว่า ห้ามกินเค็ม

ห้ามใช้เกลือและน้ำปลา กันเป็นระบบอัตโนมัติเลยใช่ไหมคะ

แต่รู้ไหมคะ ว่าจริง ๆ แล้ว การกินเค็ม ก็ไม่ใช่สาเหตุเดียวที่ทำให้เป็นโรคไต เพราะมันยังมีอย่างอื่นที่ทำให้เป็นได้อีกหลายอย่าง

เลย เช่น ไขมันสูง ความดันสูง เบาหวาน ซึ่งโรคเหล่านี้พอเป็นไปนาน ๆ ก็ทำให้เข้าสู่วงการโรคไตได้เหมือนกัน

 

เพราะฉะนั้น ตอนนี้ใครที่ไตยังปกติอยู่ หรือเป็นระยะต้น ๆ เราต้องเลือกทานอาหารดี ๆ ออกกำลังกาย เช็คความดันบ่อย ๆ

และใช้ชีวิตอย่างสมดุลในแต่ละวันกันด้วยนะคะ

 

แต่สำหรับคนที่เริ่มก้าวเข้ามาเป็นโรคไตแล้วล่ะ เราจะดูแลตัวเองยังไง ให้ยังคงคุณภาพชีวิตปกติเอาไว้ได้ ให้ยังคงมีความสุขในการ

ใช้ชีวิตต่อไปได้ และจะมีแนวทางดูแลผู้ป่วยซึ่งเป็นคนที่คุณรักยังไงดี วันนี้อายสรุปภาพรวมง่าย ๆ มาบอกกันค่ะ ว่าจริง ๆ แล้ว..

เป็นโรคไต ต้องดูอะไรอีกบ้าง นอกจาก”เค็ม”

 

 

แต่ก่อนจะไปดูกันต่อ ถ้าเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์กับคุณ

หรือกับเพื่อน ๆ ของคุณ ช่วยแชร์กันไปได้เลยนะคะ อายจะขอบคุณมาก ๆ เลยค่ะ 🙂

 

1.พลังงาน

 

สำหรับโรคไตทุกระยะ 1-5 จะควบคุมพลังงานในแต่ละวัน เท่ากัน คือ 30-35 Cal/Kg. จาก IBW

เพื่อให้เหมาะสมกับแต่ละคน ซึ่งอายขอยกตัวอย่างให้เห็นชัด ๆ นะคะ

 

ตัวอย่าง นายกุ๊กไก่ อายุ 40ปี น้ำหนัก 60 Kg. ส่วนสูง 165 cm. **สูตร IBW = (ส่วนสูง หน่วย cm.) – 100 = น้ำหนักที่เหมาะสม

ดังนั้นจากตัวอย่าง IBW ของนายกุ๊กไก่ = 165-100 = 65 kg.

และพลังงานที่ควรได้รับต่อวัน = 30 x 65 = 1,950 หรือประมาณ 2,000-2,200 kcal. ต่อวันนั่นเองค่ะ

 

**สำหรับผู้หญิง **สูตร IBW = (ส่วนสูง หน่วย cm.) – 110 = น้ำหนักที่เหมาะสม

ถ้าเราควบคุมพลังงานให้พอเหมาะได้ น้ำหนักก็จะไม่เกิน โรคต่าง ๆ ที่มากับน้ำหนักก็จะไม่เกิด ช่วยลดภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่น

ไปได้เยอะเลยล่ะค่ะ

 

 

2.โปรตีน

 

เพราะโปรตีนเป็นสารอาหารที่จำเป็น และควรเลือกเป็นโปรตีนที่ย่อยง่ายคุณภาพดีเป็นหลัก จึงเป็นเหตุที่ว่า ทำไม

คุณหมอ คุณพยาบาลถึงแนะนำให้เราทานไข่ขาวกับเนื้อปลาบ่อย ๆ แต่ในขณะเดียวกัน โปรตีนเองก็เป็นสารอาหารตัวนึง ที่ถ้าใคร

อยู่ระยะก่อนฟอกไตแล้วทานมากเกินไป จะทำให้ไตยิ่งทำงานหนัก ของเสียจะสูงได้ง่าย เลยต้องควบคุมปริมาณโปรตีนที่ทานในแต่

ละวันให้เหมาะสมกับแต่ละคนด้วย

 

ระยะก่อนฟอกไต

ผู้ป่วยควรได้รับโปรตีน 0.6-0.8 กรัม/น้ำหนักตัว (kg.) ตัวอย่างนายกุ๊กไก่คนเดิม แต่สมมติเพิ่มว่า เป็นโรคไตระยะ 3

ค่าน้ำหนักที่เหมาะสม (IBW) คือ 65 kg. โปรตีนที่ควรได้รับต่อวัน = 0.6 x 65 = 39 กรัม , 0.8 x 65 = 52กรัม

แปลว่า นายกุ๊กไก่ ควรทานโปรตีนให้ได้ 39 ถึง 52 กรัมต่อวันจึงจะเหมาะสม

 

ระยะฟอกไต

จะตรงกันข้ามเลยค่ะ ระยะนี้ต้องการโปรตีนสูง ๆ เพราะการฟอกแต่ละครั้งจะสูยเสียโปรตีนออกไปตลอด หากทานไม่พอ ร่างกายก็จะ

ขาดไปเรื่อย ๆ กล้ามเนื้อจะหายไป อ่อนเพลีย ไม่มีแรงอยู่บ่อย ๆ ผอมลง และติดเชื้อได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

 

ระยะนี้ต้องการโปรตีน 1.2-1.5 กรัม/น้ำหนักตัว (kg.) ตัวอย่างนายกุ๊กไก่คนเดิม และเป็นระยะฟอกไตแล้ว

 

**ฟอกไตผ่านเครื่อง ต้องการโปรตีน 1.1-1.4 กรัม/น้ำหนักตัว (kg.) ส่วนผ่านหน้าท้อง 1.2-1.5 กรัม/น้ำหนักตัว (kg.) นะคะ

 

 

 

ค่าน้ำหนักที่เหมาะสม (IBW) คือ 65 kg. โปรตีนที่ควรได้รับต่อวัน = 1.2 x 65 = 78 กรัม , 1.5 x 65 = 97 กรัม แปลว่า นายกุ๊กไก่ ควร

ทานโปรตีนให้ได้ 78 ถึง 97 กรัมต่อวันจึงจะเหมาะสม

 

ตัวอย่างแหล่งโปรตีนยอดฮิต

 

ขอบคุณภาพ https://planforfit.com

 

 

ขอบคุณภาพจาก http://kuunebyptpfoods.blogspot.com

 

 

 

3.โซเดียม

 

เจ้าตัวดีที่เราเลี่ยงกันสุด ๆ แต่ก็หนีไม่ค่อยจะพ้น เพราะอยู่ในอาหารแทบทุกอย่างเลยล่ะค่ะ เพียงแต่มีมากมีน้อยต่างกัน ขึ้นชื่อว่า

เป็นโรคไต ไม่ว่าจะระยะก่อนฟอกและฟอกไตแล้ว ก็ต้องคุมตัวนี้เหมือนกัน ที่สำคัญโซเดียมไม่ได้อยู่แค่ในเครื่องปรุง แต่อยู๋ในสาร

ปรุงแต่งอาหารด้วย เช่น ผงฟู ผงชูรส อยู่ในอาหารแช่แข็ง อาหารแปรรูป อย่างกุนเชียง ไส้กรอก ลูกชิ้น อาหารหมักดอง ปลาร้า

**1 วันควรได้รับ 1,500 – 2,000 mg.


ตัวอย่างปริมาณโซเดียมในอาหารยอดฮิต

ขอบคุณภาพ เพจ ลดเค็มลดโรค

 

 


4.โพแทสเซียม

 

ทั้งระยะก่อนฟอกไต และฟอกไตแล้ว ก็ต้องคุมเหมือนกันค่ะ และจะขึ้นกับผลเลือดของแต่ละคนด้วย บางคนที่ค่าต่ำ ก็

ต้องทานเพิ่ม บางคนที่ค่าสูงก็อาจจะต้องงดไปก่อนสักระยะ เจ้าตัวนี้จะมีผลโดยตรงกับหัวใจ เพราะงั้นต่อนข้างอันตรายเลยค่ะ ต้อง

ควบคุมให้ดี คนที่ฟอกไตอยู่จะเคร่งมากกว่าระยะก่อนหน่อย เพราะเวลาโพแทสเซียมสูง แล้วมาฟอกไต อาจจะหายใจไม่ออก ต้อง

ให้ออกซิเจน หรือน๊อคหมดสติ ถูกส่งฉุกเฉินระหว่างฟอกเลยก็มีให้เห็นบ่อย ๆ **1 วันไม่ควรทานเกิน 1,500 mg.

 

ตัวอย่างโพแทสเซียมในผักผลไม้

 

ขอบคุณภาพ https://1.bp.blogspot.com

 

 


5.ฟอสฟอรัส

ตัวนี้ต้องควบคุมทั้งระยะก่อนฟอกไต และฟอกไตแล้ว มักจะอยู่ในอาหารที่คุณประโยชน์สูงและธัญพืช เช่น นม ถั่วชนิดต่าง ๆ ข้าว

และแป้งไม่ขัดสี กลุ่มที่เป็น Super food อย่าง กราโนล่า ควินัว ต้นอ่อนทานตะวัน เมล็ดเชีย เป็นต้น

 

ที่ต้องควบคุมอาหารเหล่านี้ ก็เพราะไตเราเสื่อม จึงกรองฟอสฟอรัสออกไม่ค่อยได้ ถ้าทานเข้าไปเยอะมันก็จะสะสมอยู่ในเลือดไป

เรื่อย ๆ และจำทำให้มีผลกับกระดูกของเรา ทำให้กระดูกบาง แตกหักได้ง่ายค่ะ ** 1 วันควรได้รับไม่เกิน 1,000 mg.

 

ตัวอย่างอาหาร ฟอสฟอรัสสูง ควรหลีกเลี่ยง

 

 

 

ตัวอย่างอาหาร ฟอสฟอรัสต่ำ ทานได้

 

 

 

6.น้ำ

 

โรคไต เป็นโรคเดียวที่สังเกตได้จากอาการบวมน้ำ เพราะว่าไตไม่สามารถขับปัสสาวะออกไปได้ น้ำก็เลยสะสมอยู่ในตัว

เหมือนกับลูกโป่งที่เติมน้ำลงไป เพราะฉะนั้น น้ำ ก็เป็นตัวหนึ่งที่คนเป็นโรคไตต้องดูแลเป็นพิเศษค่ะ

 

สำหรับระยะก่อนฟอกไต ส่วนใหญ่มักไม่ต้องคุม ถ้าดื่มน้ำเปล่าเยอะ ๆ ได้จะยิ่งดีมาก ๆ ค่ะ เพราะไตชอบน้ำ (แทบไม่ต้องกรอง ไต

จะทำงานเบา ๆ) แต่จะมีบางคนเท่านั้นที่ต้องคุมจากอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ

 

ส่วนระยะฟอกไตแล้ว กรณียังมีปัสสาวะ จะจำกัดน้ำอยู่ที่ 500-750 ml. + ปัสสาวะที่ออกมา (ที่ตวงได้)

แต่ถ้าไม่มีปัสสาวะ จะจำกัดอยู่ที่ประมาณ 1 ลิตรต่อวัน เพื่อไม่ให้บวมจนเกิดภาวะน้ำท่วมปอด ซึ่งอันตรายมาก ๆ ถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

 

สรุปก็คือ นอกจากเค็มแล้ว ผู้ป่วยโรคไตไม่ว่าจะระยะไหน ก็ยังต้องสนใจโปรตีน โพแทสเซียม ฟอสฟอสรัส และน้ำ

เพิ่มเติมด้วย เพื่อช่วยไตของเราไม่ให้ทำงานหนัก จะได้ชะลอไตเสื่อมไปได้นาน ๆ และที่สำคัญ จะช่วยให้เราใช้ชีวิตได้อย่าง

ปกติ แต่อาหารชนิดไหนที่เราอยากจะทานจริง ๆ ก็ควรทานในปริมาณน้อย และพิจารณาผลเลือดประกอบด้วยนะค๊า

 

สุดท้ายอายอยากฝากไว้ว่า จริง ๆ เป็นโรคไต ทานได้ทุกอย่าง เพียงแต่จำกัดที่ปริมาณ อย่างเช่นเครื่องปรุง ไม่ใช่ว่าห้ามใช้

แต่ให้ปรุงในปริมาณน้อย และไม่ควรทานอะไรซ้ำเดิมนาน ๆ ไม่งั้นก็อาจทำให้ขาดสารอาหารที่สำคัญตัวอื่นได้เช่นกัน

การทานอาหารหลากหลาย อย่างละนิดละหน่อยคือการคุมอาหารที่ดีที่สุดค่ะ ขอให้ทุกคนแข็งแรง และมีความสุขกันมาก ๆ นะคะ ^^

 

 

อ่านจบแล้ว อย่าลืมแชร์บทความนี้ ให้คนที่คุณรักกันด้วยนะค๊าา ขอบคุณมากค่ะ

 

 

ข้อมูลอ้างอิง :

www.praram9.com
www.planforfit.com
คู่มือผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง
เพจ ลดเค็มลดโรค
การประเมินสภาวะโภชนาการในโรคเบาหวาน โดย อ.ศัลยา คงสมบูรณ์เวช (นักโภชนาการ)
โภชนบำบัดในโรคไตและตับ โดย ศ.พญ.จุฬาภรณ์ รุ่งพิสุทธิพงษ์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

 

ขอขอบคุณรูปภาพจาก kidneymeal
ขอขอบคุณข้อมูลจาก kidneymeal