ผักผลไม้ดีต่อสุขภาพ ทำไมเป็นโรคไตต้องจำกัดการกิน ?

ผักผลไม้ดีต่อสุขภาพ ทำไมเป็นโรคไตต้องจำกัดการกิน ?

ในผักผลไม้มีอะไร ทำไมเป็นโรคไตต้องจำกัดการกินด้วย ?

ในผักและผลไม้ ที่เราได้ยินกันมาตลอดว่า ดีต่อสุขภาพ ถ้าใครอยากสุขภาพดี แข็งแรงต้องกินผักผลไม้เยอะ ๆ แต่..พอเป็นโรคไตเท่านั้นแหละ เรากลับถูกบอกว่าให้จำกัดการกิน รู้ไหมคะว่าทำไม ?

สาเหตุก็เพราะว่า ในผักผลไม้ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีสีเข้ม ๆ (เขียวเข้ม ส้มเข้ม เหลืองเข้ม แดงเข้ม) มีเกลือแร่ชนิดนึงที่ชื่อ

 

“โพแทสเซียม” ที่คอยควบคุมสมดุลกรด-ด่าง ช่วยลดอาการบวมน้ำ ปรับสมดุลน้ำในร่างกายเรา และช่วยป้องกันไม่ให้เราหัวใจล้มเหลว

 

ว้าว ดูมีประโยชน์มากเลยใช่ไหมคะ แต่ประเด็นคือ..มันไม่ได้ดีกับทุกคนน่ะสิคะ

เพราะสำหรับผู้ป่วยไตเลื่อมแล้ว เวลากินผักผลไม้เข้าไป ไตจะขับโพแทสเซียมออกไปได้น้อยกว่าปกติ

โพแทสเซียมส่วนใหญ่เลยสะสมอยู่ในเลือด พอเจาะเลือด จึงพบว่าโพแทสเซียมสูง ทำให้ต้องจำกัดการกินผักผลไม้ลงไปอีกนั่นเอง

 

 

ใครที่ต้องคุมโพแทสเซียมบ้าง ?

 

ผู้ป่วยที่มีเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง

ผู้ป่วยที่ทานยาบางชนิด ที่มีผลทำให้โพแทสเซียมในเลือดสูงขึ้น

ผู้ป่วยโรคไต เนื่องจากไตเสื่อม จึงขับโพแทสเซียมออกไปได้น้อย ส่วนใหญ่เลยสะสมอยู่ในเลือด

ที่สำคัญ ถ้าเรากินโพแทสเซียมน้อยเกินไป >> ทำให้ความดันสูงขึ้น จนอาจนำไปสู่โรคหลอดเลือดในสมอง

 

 

แต่ถ้ากินมากเกินไป >> อาจเกิดคลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรืออาจหัวใจล้มเหลวได้

 

เราจึงต้องกินอย่างพอเหมาะ ไม่มากไป ไม่น้อยเกิน เพื่อให้ร่างกายสมดุลและเพื่อสุขภาพที่ดี

(ดีที่สุดในแบบของผู้ปวยโรคไตนี่ล่ะค่ะ)

 

กินผักผลไม้เท่าไหร่ ถึงจะเรียกว่า “พอดี” ?

 

ขอบคุณภาพ mahidol.ac.th

 

 


ตามหลักแล้ว ร่างกายเราต้องการสารอาหารครบ 5 หมู่ ตามที่รู้กันมาตั้งแต่เด็ก ๆ แต่ปริมาณของแต่ละหมู่ควรเป็นเท่าไหร่

 

กินอันไหนเยอะ อันไหนน้อย สามารถยึดตามภาพนี้ได้เลยนะคะ

 

“ธงโภชนาการ” ในภาพสามเหลี่ยวคว่ำด้านบนนี้ แปลความง่าย ๆ ได้ว่า พื้นที่ด้านบนมากที่สุด = ร่างกายต้องการสารอาหารกลุ่มนั้นมากที่สุด

 

ใน 1 วัน ถ้าเราต้องการให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เพียงพอและสมดุลเราควรกิน ข้าว-แป้ง (กลุ่มคาร์โบไฮเดรต) ในปริมาณมากที่สุด

รองลงก็คือ ผักผลไม้ (กลุ่มวิตามินและเกลือแร่) ต่อจากนั้นก็จะเป็นกลุ่มเนื้อสัตว์ นม น้ำมัน น้ำตาลและเกลือวันละน้อย ๆ นั่นเองค่ะ

 

แต่สำหรับทความนี้อายขอพูดถึงเฉพาะกลุ่มผักผลไม้กันก่อนนะคะ(หมวดอื่น รอติดตามในบทความต่อ ๆ ไปได้เลยค่ะ) อยากอ่านเรื่องธงโภชนาการเพิ่มเติม กดที่นี่ค่ะ

ว่าแต่..ที่ให้กินปริมาณมาก รองจากข้าว-แป้ง แล้วมันคือเท่าไหร่กันล่ะ ?

ใน 1 วันสำหรับผู้ป่วยโรคไต ควรได้รับโพแทสเซียม ไม่เกิน 1,500 mg./วัน

 

ค่าโพแทสเซียมในใบผลเลือดที่เหมาะสม 3.5 – 5.0 mEq/L

ถ้าโพแทสเซียมต่ำไป ต่ำกว่า 3.5 mEq/L อาจะเกิดอาการ ซึม อ่อนเพลีย คลื่นไส้ เบื่ออาหาร ตะคริว

 

ถ้าโพแทสเซียมสูงไป เกิน 5.0 mEq/L อาจเกิดอาการ เกิดการคั่งของน้ำในร่างกาย เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือร้ายแรงที่สุด คือ หัวใจล้มเหลว (หยุดเต้น) ไปเลยค่ะ

 

ดังนั้น ใครที่เจาะเลือดแล้วคุณหมอบอกว่าโพแทสเซียมสูง ก็ให้ทำตามคำแนะนำ ที่คุณหมอบอกนะคะ จะต้องลด หรือ งด ก็ว่ากันไปตามผลเลือดของแต่ละคน

 

 

จะรู้ได้ยังไง ว่าควรเลือกกินผักผลไม้อะไรดี ?

เรามาดูปริมาณโพแทสเซียมในผักและผลไม้ในภาพนี้กันค่ะ

 

 

จะเห็นว่า เราสารมารถจัดกลุ่มง่าย ๆ ได้ 3 กลุ่ม คือ

 กุล่มต่ำ = ในผัก-ผลไม้ 100 กรัม มีโพแทสเซียมต่ำกว่า 100 มก.


 กลุ่มปานกลาง = ในผัก-ผลไม้ 100 กรัม มีโพแทสเซียม 100-200 มก.


 กลุ่มสูง = ในผัก-ผลไม้ 100 กรัม มีโพแทสเซียม 201 มก. ขึ้นไป

 

 

ยกตัวอย่าง เช่น ในสัปปะรด 100 กรัม มีโพแทสเซียม 108 มก. >> จัดเป็นกลุ่มปานกลาง

 

แนะนำเลือกทานกลุ่มปานกลาง และต่ำเป็นหลัก กลุ่มสูงควรเลี่ยงนะคะ

 

แล้วถ้าผลไม้ที่อยากกินไม่อยู่ในนี้ล่ะ ..อายแนะนำให้เอาชื่อไป Search ในนี้ได้เลยค่ะ เช็คปริมาณโพแทสเซียมของผักและผลไม้อื่น ๆ
 http://www.calforlife.com/th/calories/

 

แต่ถ้าในนี้ยังไม่มี (หรือลองหาจากหลายแหล่งแล้วก็ไม่เจอ) อายแนะนำว่าไม่ควรทานนะคะ
เพราะ เราไม่รู้ปริมาณโพแทสเซียมของผักหรือผลไม้ชนิดนั้นค่ะ 

 


3 เทคนิคง่าย ๆ ถ้าอยากกินผัก-ผลไม้ได้ทุกวัน

1.เลือกกินผัก-ผลไม้ที่อยู่ในกลุ่มต่ำเป็นหลัก

2.ถ้าเป็นผักควรนำไปลวกก่อน สามารถช่วยลดโพแทสเซียมได้ประมาณ 30% เลยทีเดียวถ้าจะเอาไปทำแกง เอาไปต้ม แนะนำทิ้งน้ำแรกที่เป็นน้ำเข้มข้นที่สุดไปก่อน หรือเหลือเพียงน้อยนิดเพื่อเติมน้ำใหม่ไปเจือจางอีกรอบนะคะ

3.แบ่งทานมื้อละไม่กี่ชิ้น เน้นความหลากหลายเช่น มื้อเช้า กินแอปเปิ้ล 3 ชิ้น , มื้อกลางวัน กินชมพู่อีก 1 ผล , มื้อเย็น กินเงาะอีกสัก 3 ลูกเป็นต้นเพียงเท่านี้ เราก็ได้ทานผลหลากหลาย แก้เบื่อ แถมยังได้ทานทุกวันอีกด้วยค่ะ

 

 

จัดผัก-ผลไม้ ใน 1 มื้อยังไงดี ?

วิธีจัดมื้ออาหาร ให้มีผักผลไม้ทุกมื้อ ทำได้ง่าย ๆ ดูตัวอย่างจากภาพนี้ได้เลยนะคะ

อายขอแนะนำเพิ่มเติมว่า ถ้าอยากทานได้ทุกวัน ควรเลือกทานผัก-ผลไม้ในกลุ่มต่ำเป็นหลักค่ะ

 

ถ้ามื้อไหนผักในจานช่างน้อยเหลือเกิน หรือไม่มีผักเลย ก็ควรทานผลไม้เพิ่มหน่อย

ถ้ามื้อไหนในจานมีผักพอสมควร ก็ทานผลไม้ตามได้อีกเล็กน้อย

ถ้ามื้อไหนผักเยอะ ควรทานผลไม้เพียงเล็กน้อยหรือไม่ทานก็ได้ เพราะมีผักเยอะแล้ว

 

 

 

สรุป

ผุ้ป่วยโรคไตไม่ใช่ว่าจะต้องจำกัดผัก-ผลไม้ทุกคนนะคะ เพียงแต่ต้องดูที่ผลเลือดของแต่ละคน แล้วเลือกทานผักผลไม้ให้เหมาะสมทั้งชนิด และปริมาณ ผู้ป่วยบางคนที่คุณหมอให้ทานยา แสดงว่าค่านี้สูงมากจริง ๆ ก็ต้องคุมเป็นพิเศษ ส่วนใครที่ยังอยู่ในเกณฑ์หรือต่ำ ก็ทานได้บ่อยกว่าหน่อย เพียงเท่านี้ก็ไม่ต้องกังวลแล้วนะคะ ว่าจะกินผักได้ไหม จะกินผลไม้อะไรอีกต่อไป เตรียมมีความสุขกับการกินในอาหารมื้อหน้านี้ได้เลยค่ะ ^^

 

 

อ่านจบแล้วอย่าลืมแชร์ให้เพื่อน ๆ ด้วยนะคะ

 

ขอขอบคุณรูปภาพจาก kidneymeal
ขอขอบคุณข้อมูลจาก kidneymeal