คู่มือกินผักผลไม้ ปรับสมดุลแร่ธาตุ ฟื้นสุขภาพ ผู้ป่วยโรคไต

คู่มือกินผักผลไม้ ปรับสมดุลแร่ธาตุ ฟื้นสุขภาพ ผู้ป่วยโรคไต

ผู้ป่วยโรคไต เรื้อรังควรได้รับอาหารประเภทโปรตีน

ในปริมาณพอดีเท่าที่ร่างกายต้องการ ไม่มากเกินไปจน ทำให้ไตเสื่อม ไม่น้อยเกินไปจนเกิดภาวะทุพโภชนาการ กล่าวคือ กรณีเป็นโรคในระยะที่ 1 – 3 ควรได้รับโปรตีน วันละ 0.6 – 0.8 กรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวที่ควรเป็น กรณีเป็นโรคในระยะที่ 4 – 5 ควรได้รับโปรตีนวันละ 0.6 กรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวที่ควรเป็น โดยโปรตีนอย่าง น้อย 60 เปอร์เซ็นต์ ควรเป็นโปรตีนคุณภาพสูงที่มีกรด แอมิโนจำเป็นครบถ้วน เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ขาว เป็นต้น

ในส่วนของแคลอรี ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังควรได้รับแคลอรี ไม่น้อยเกินไปจนเกิดการสลายโปรตีน และไม่มากเกินไปจน เหลือใช้และเก็บสะสมในรูปไขมัน กล่าวคือ ถ้าอายุต่ำกว่า 60 ปี ควรได้แคลอรีวันละ 35 กิโลแคลอรีต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวที่ควร เป็นถ้าอายุ 60 ปีขึ้นไปควรได้แคลอรีวันละ 30 – 35 กิโลแคลอรี ต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวที่ควรเป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังควรได้รับการดูแลและรักษาระดับ โพแทสเซียมในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

 

1. ในกรณีที่มีระดับโพแทสเซียมในเลือดสูง

ควรหา สาเหตุ เช่น ผลจากยา ACEI เป็นต้น และควรกินอาหาร ที่มีโพแทสเซียมต่ำ อันได้แก่ผักต่าง ๆ เช่น แตงกวา แตงร้าน ฟักเขียว ฟักแม้ว บวบ มะระ มะเขือยาว มะละกอดิบ ถั่วแขก หอมหัวใหญ่ กะหล่ำปลี ผักกาดแก้ว ผักกาดหอม พริกหวาน พริกหยวก หรือผลไม้ต่างๆ เช่น สับปะรด แตงโม ส้มโอ ส้มเขียวหวาน ชมพู่ พุทรา มังคุด ลองกอง องุ่นเขียว เงาะ แอปเปิล

 

รูปภาพจาก pixels

 

ในระยะที่มีโพแทสเซียมสูง ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มี โพแทสเซียมสูง อันได้แก่ผักผลไม้และน้ำผักผลไม้ต่าง ๆ เช่น เห็ด หน่อไม้ฝรั่ง บรอกโคลี ดอกกะหล่ำ แครอต แขนงกะหล่ำ ผักโขม ผักบุ้ง ผักกาดขาว ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง ยอดฟักแม้ว ใบแค ใบขึ้นฉ่าย ข้าวโพด มันเทศ มันฝรั่ง ฟักทอง อะโวคาโด น้ำแครอต น้ำมะเขือเทศ กระเจี๊ยบ ผักแว่น ผักหวาน สะเดา หัวปลี กล้วย กล้วยหอม กล้วยตากฝรั่ง ขนุน ทุเรียน น้อยหน่า กระท้อน ลำไย ลูกพลับ ลูกพรุน ลูกเกด มะม่วง มะเฟือง มะปราง มะขามหวาน แคนตาลูป ฮันนี่ดิว น้ำส้มคั้น น้ำมะพร้าว

 

รูปภาพจาก pixels

 

2. ในกรณีที่มีความดันเลือดสูงหรือบวม

ควรกินอาหารที่มี โซเดียมต่ำกว่า 100 มิลลิกรัมต่อวัน หรือต่ำกว่า 2,300 มิลลิกรัม ของโซเดียมต่อวัน หรือเทียบเท่าเกลือแกงวันละ 5.7 กรัม

3. ในกรณีที่มีฟอสเฟตในเลือดสูง

ควรหลีกเลี่ยง อาหารที่มีฟอสเฟตสูง เช่น เมล็ดพืช นม เนย กาแฟผง เป็นต้น

รูปภาพจาก pixels

 

4. ในกรณีที่มีภาวะขาดวิตามินดีร่วมด้วย

(ทราบ จากการเจาะเลือดตรวจดูระดับวิตามินดี) ควรกิน วิตามินดีทดแทน เพราะการได้วิตามินดีจากแสงแดด และอาหารธรรมชาติไม่แน่นอน

5. ในกรณีที่มีภาวะโลหิตจาง

(เฮโมโกลบินต่ำกว่า 10 เปอร์เซ็นต์) เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโลหิตจาง แล้ว แพทย์อาจจะรักษาด้วยสารกระตุ้นการสร้าง เม็ดเลือดแดง Erythropoiesis-stimulating Agent (ESA) ซึ่งในกรณีดังกล่าว หากระดับธาตุเหล็ก ในร่างกายต่ำ อาจจำเป็นต้องได้รับธาตุเหล็กทดแทน จนกว่าระดับเหล็กในร่างกายจะมีเพียงพอ
ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ควรระวังไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ ด้วยการดื่มน้ำให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 2 ลิตรขึ้นไป ยกเว้นเมื่อเข้าระยะปลาย ๆ ของโรคซึ่งมีอาการบวม จึง ค่อยจำกัดน้ำตามปริมาณที่แพทย์แนะนำให้เป็นรายๆ ไป การหลีกเลี่ยงยาหรือสารพิษทำลายไต

ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังทุกคนควรหลีกเลี่ยงการได้รับ สารที่เป็นพิษต่อไตต่อไปนี้คือ

1. ยาแก้ปวดอักเสบในกลุ่ม Nonsteroidal Anti-inflammatory Drugs (NSAID) และกลุ่ม COX2 Inhibitors

2. ยาปฏิชีวนะในกลุ่ม Aminoglycosides ซึ่งเป็น พิษต่อไต

3. การฉีดสารทึบรังสี (Radiocontrast Agents) เพื่อการวินิจฉัยโรค

4. สมุนไพรต่าง ๆ เพราะสมุนไพรหลายชนิด เป็นพิษต่อไต

การฉีดวัคซีนผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังทุกคนควรได้รับการตรวจ คัดกรองว่ามีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือมีภูมิคุ้มกัน ตับอักเสบบีหรือไม่ หากไม่มีเชื้อและไม่มีภูมิคุ้มกัน ควรได้รับการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีจนมีภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่4 ขึ้นไป ควรได้รับวัคซีน ป้องกันไข้หวัดใหญ่ประจำปีทุกปี

กรณีที่อายุ 65 ปีขึ้นไป ควรได้รับการฉีดวัคซีน ป้องกันปอดอักเสบ (Invasive Pneumococcal Vaccine) ด้วย

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก goodlifeupdate
แหล่งที่มาจาก คอลัมน์ WELLNESS CLASS นิตยสารชีวจิต ฉบับ 467