กินป้องกันโรคไต และออกกำลังกายที่ถูกต้อง
กินป้องกันโรคไต และการออกกำลังกายเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับผู้ป่วยโรคไตทุกคน
คุณธิษณา จรรยาชัยเลิศ (นักกําหนดอาหารวิชาชีพ) และคอลัมนิสต์ประจำนิตยสารชีวจิต มีวิธีการกินป้องกันโรคไต และการออกกำลังกายป้องกันโรคไตมาฝากครับ
อยากให้ไตมีสุขภาพแข็งแรงต้องรู้จักกิน ดื่ม และ ออกกําลังกายง่าย ๆ ดังนี้
เพลาหวาน เบาเค็ม
เพื่อป้องกันโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นสาเหตุสําคัญที่นําไปสู่ โรคไตเรื้อรัง สามารถทําได้ง่ายๆโดยปรับเปลี่ยนความ เคยชินเสียใหม่ เริ่มจากหลีกเลี่ยงหรือลดความถี่ในการ ดื่มเครื่องดื่มรสหวานหรือน้ำอัดลม
ลดปริมาณน้ำตาล และเครื่องปรุงรส เช่น ซีอิ๊วขาว น้ำปลา หรือซอส ปรุงรสในอาหาร
อาจเริ่มจากลดลงทีละครึ่งช้อนชา ครั้งแรกที่ลด ปริมาณน้ำตาลหรือเครื่องปรุงรสอาจรู้สึกว่ารสชาติไม่ กลมกล่อมเท่าเดิม แต่หากทําต่อเนื่องสักระยะ ต่อม รับรสจะปรับตัวใหม่ สุดท้ายหากกลับไปกินอาหารหวาน และเค็มเหมือนเดิม จะรู้สึกว่าเครื่องดื่มหรืออาหารเหล่านั้นรสชาติหวานและเค็มเกินไป ไม่อร่อย
นอกจากนี้ ควรกินอาหารสดใหม่จากธรรมชาติ หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป อาหารกระป๋อง ที่เติมเกลือและ น้ําตาลปริมาณสูงกว่าปกติ เพื่อประโยชน์ในด้านรสชาติ และยืดอายุการเก็บรักษา
ตั้งเป้าดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว
การดื่มน้ำน้อยเกินไป อาจส่งผลให้ปัสสาวะมีความเข้มข้นสูง เพิ่มโอกาสที่ สารละลายในปัสสาวะจะตกผลึกกลายเป็นก้อนนิ่ว
หากใครรู้ตัวว่าดื่มน้ําไม่เพียงพอ วิธีหนึ่งที่จะช่วย เตือนความจําให้ดื่มน้ำระหว่างวันเพิ่มขึ้นคือ วางกระติกน้ำ ไว้บนโต๊ะทํางาน อาจเลือกน้ำเปล่าหรือน้ำอาร์ซี เครื่องดื่ม สุขภาพตามแบบฉบับชีวจิต แต่ไม่ควรเป็นเครื่องดื่มที่ให้ พลังงานและน้ำตาลสูง เพราะอาจทําให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น และเสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพตามมา
นอกจากนี้ ควรเลือกกินอาหารที่มีน้ำเป็นส่วน ประกอบ หรือกินผลไม้ที่มีน้ำมาก เช่น แตงโม ก็เป็น อีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มปริมาณน้ำให้กับร่างกาย
อย่างไรก็ตาม ควรดื่มน้ำให้เพียงพอและหลีกเลี่ยง พฤติกรรมกลั้นปัสสาวะบ่อยๆร่วมด้วย เพราะปัสสาวะ ที่คั่งค้างทําให้เชื้อแบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดีในกระเพาะ ปัสสาวะ ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ และส่งผลให้เกิดโรคไตเรื้อรังตามมา
ออกกําลังกายขับเกลือโซเดียม
วิธีหนึ่งที่จะช่วยขจัด ความเค็มออกจากร่างกาย โดยที่ไตไม่ต้องทํางานหนักคือ การออกกําลังกาย เพราะการเคลื่อนไหวร่างกายอย่าง ต่อเนื่องทําให้ร่างกายสามารถขับเกลือโซเดียมส่วนเกิน ผ่านทางผิวหนังพร้อมเหงื่อได้
ฉะนั้นเพื่อถนอมไตไม่ให้ทํางานหนัก ควรออกกําลังกายเป็นประจําและต่อเนื่อง อย่างน้อยคร้ังละ 30 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน โดยเลือกกิจกรรมที่ชอบ เพื่อให้ได้ เคลื่อนไหวร่างกายและเสียเหงื่อ เช่น เดิน วิ่ง โยคะ ปั่นจักรยาน
กินป้องกันโรคไต และกาออกกำลังกายที่ถูกต้อง ทำให้ห่างไกลจากโรคไตได้นะ
ขอขอบคุณรูปภาพจาก unsplash
ขอขอบคุณรูปภาพจาก pixels
ขอขอบคุณข้อมูลจาก goodlifeupdate