โรคพ่วงจากภูมิแพ้ แก้ได้ด้วยการออกกำลังกาย แบบง่ายๆ
โรคพ่วงจากภูมิแพ้ คืออะไร ภูมิแพ้เป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจําวันของผู้ป่วย หากไม่ดูแลสุขภาพและไม่ระมัดระวังสิ่งกระตุ้น บางคนอาจต้องอยู่กับโรคนี้ไปตลอดทั้งชีวิตและอาจเกิด “โรคพ่วง” ที่เป็นอันตรายร้ายแรงตามมา
วันนี้ เราขอนําเสนอการออกกําลังกายยอดฮิต เพื่อเยียวยาโรคพ่วงจากโรคจมูกอักเสบ จากภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis) หรือโรคแพ้อากาศ ซึ่งคนส่วนใหญ่เป็นกันมากภายมาฝากค่ะ
โรคพ่วงจากภูมิแพ้ อันตรายกว่าที่คิด
รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงอรพรรณ โพชนุกูล หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านโรคภูมิแพ้ โรคหืด และโรคระบบทางเดินหายใจ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ อธิบายอาการโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ว่า
“คนไข้ที่เป็นโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้หรือที่เรียกว่าโรคแพ้อากาศนั้นจะมีการอักเสบของเยื่อบุจมูก ทําให้มีอาการคันจมูก จาม น้ำมูกไหล และคัดจมูก อาจมีอาการเล็กน้อยจนถึงเป็นมาก แต่อาการเหล่านี้อาจสามารถหายไปเอง แต่หากไม่เข้ารับการรักษาหรือไม่ดูแลสุขภาพ อาการจะกําเริบมากขึ้นและเกิดโรคพ่วงหรือภาวะแทรกซ้อนตามมา”
รูปภาพจาก pixels
หนังสือรู้เรื่องโรคภูมิแพ้ ป้องกันได้ รักษาหาย โดยพันตํารวจเอก นายแพทย์พิพัฒน์ และ พันตํารวจเอก แพทย์หญิงนพมาศ ชูวรเวช อธิบายการเกิดโรคพ่วงจากโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ สรุปว่า โรคแพ้อากาศชนิดนี้ทําให้เกิดอาการจาม คันจมูก คัดจมูก น้ำมูกไหล บางครั้งปวดแสบจมูก เจ็บคอ และมีอาการปวดศีรษะร่วมด้วย หากผู้ป่วยไม่เข้ารับการรักษาและดูแลสุขภาพ ปล่อยให้โรคดําเนินไปเป็นเวลานานหลายปี จะเกิดโรคพ่วงตามมา เรียกว่า การเดินทางไกลของโรคภูมิแพ้ (Allergy March) ทั้งนี้เพราะจมูกและหลอดลมมีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดเดียวกันและติดต่อถึงกัน จึงทําให้เกิดการอักเสบทั้งระบบทางเดินหายใจ โดยส่งผลให้เกิด โรคพ่วงจากภูมิแพ้ ดังนี้
1. โรคหืด (Bronchial Asthma)
พบว่า ร้อยละ 80 ของ ผู้ป่วยโรคหืดมีโรคภูมิแพ้ชนิดต่างๆ นํามาก่อนหรือเป็นโรคแพ้อากาศร่วมด้วย
2. หูชั้นกลางอักเสบ (Otitis Media)
เกิดจากท่อระหว่างหู และจมูกตีบตัน ทําให้ปวดหูและมีน้ำขังในช่องหูชั้นกลาง เป็นโรคเรื้อรัง พบมากในเด็กเล็ก
3. ไซนัสอักเสบ (Sinusitis)
ทําให้ปวดศีรษะ มีหนองในโพรงจมูก ไอเรื้อรัง เพราะมีหนองไหลลงคอตลอดเวลาและมีไข้ต่ำๆ
4. ริดสีดวงจมูก (Nasal Polyposis)
ทําให้คัดจมูกมาก อาจเกิดร่วมกับโรคหืดและแพ้ยาแก้ปวด
5. เยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic Conjunctivitis)
ทําให้เคืองตา ตาแดง น้ำตาไหลบ่อยๆ
6. ผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ (Atopic Dermatitis)
ผิวหนังเป็น ผื่นคัน
ออกกําลังกายแก้โรคพ่วงจากภูมิแพ้
กูรูต้นตํารับชีวจิต อาจารย์สาทิส อินทรกําแหง ถือว่าการออกกําลังกายเป็นหนึ่งในหลัก 5 เล็ก(กิน นอน พักผ่อน ออกกําลังกาย และทํางานอย่างสมดุล) ที่สามารถช่วยเสริมภูมิชีวิตให้แข็งแรง ซึ่งจะช่วยเยียวยาโรคพ่วงจากภูมิแพ้ได้ สอดคล้องกับคําแนะนําจากคุณหมออรพรรณที่อธิบายว่า
“การดูแลสุขภาพด้วยการออกกําลังกายเป็นสิ่งสําคัญมากที่สุด เพราะมีงานวิจัยยืนยันชัดเจนว่า การออกกําลังกายสามารถรักษาโรคภูมิแพ้ในระบบทางเดินหายใจและโรคพ่วงจากภูมิแพ้ได้ เนื่องจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทํางานของปอด หัวใจ และทําให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น
“เมื่อระบบทางเดินหายใจของคนไข้เป็นปกติ จะช่วยให้หายใจสะดวกขึ้น ไม่มีเสมหะไหลลงคอ จึงไม่เป็นหวัดและติดเชื้อง่าย” คุณหมออรพรรณแนะนําว่า ควรออกกําลังกายอย่างสม่ำเสมอครั้งละ 30-40 นาที สัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง จึงจะช่วยรักษาโรคภูมิแพ้และโรคพ่วงจากภูมิแพ้ให้หายขาดได้ โดยเฉพาะเด็กมีโอกาสหายถึง 80 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ต้องดูแลสุขภาพในด้านอื่นๆ ร่วมด้วย คือ ต้องนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารที่มีประโยชน์
รูปภาพจาก pixels
ส่วนการออกกําลังกายเพื่อแก้โรคพ่วงจากภูมิแพ้ คุณจรันตน์ จันทินมาธร นักวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แนะนําไว้ว่า
“ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ควรออกกําลังกายแบบคาร์ดิโอ เช่น การวิ่ง ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ เพราะเป็นกิจกรรมที่ทําให้ร่างกายสามารถดึงออกซิเจนมาใช้ได้มากขึ้น จึงช่วยให้กระบวนการทํางานของร่างกายทุกระบบ ไม่ว่าจะเป็นระบบการไหลเวียนเลือด ระบบทางเดินหายใจ ระบบประสาท หรือการขับถ่าย ทํางานดีขึ้น
รูปภาพจาก pixels
นอกจากนี้ ดร.ซาร่า กอตต์ฟรายด์ ผู้เขียนหนังสือขายดีติดอันดับของ The New York Times อย่าง “The Hormone Cure” ยังแนะนําการออกกําลังกายทางเลือก เช่น โยคะ ชี่กง ไทเก๊ก ที่ช่วยเยียวยาโรคภูมิแพ้ว่า
“การออกกําลังกายทางเลือก เช่น โยคะ ช่วยให้ปอดทํางานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งยังช่วยส่งออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย และช่วยเปิดระบบทางเดินหายใจ จึงทําให้การหายใจคล่องขึ้น”
รูปภาพจาก pixels
อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ก็มีข้อควรระวังในการออกกําลังกาย คุณหมออรพรรณแนะนําไว้ดังนี้
•ผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ แพ้เกสรดอกไม้หรือดอกหญ้า ไม่ควรออกกําลังกายในที่โล่งแจ้ง ควรออกกําลังกายในร่มแทน
รูปภาพจาก pixels
•ผู้ป่วยโรคหืดควรพ่นขยายหลอดลมก่อนออกกําลังกาย 15 นาที และไม่ควรออกกําลังกายหักโหมจนเกินไป เพราะอาจจะทําให้เกิดอาการหอบเหนื่อยได้
•ผู้ป่วยโรคไซนัสอักเสบไม่ควรว่ายน้ำ เพราะอาจเกิดการสําลักน้ำ ทําให้เชื้อโรคแพร่เข้าไปในจมูก และไซนัสจนเกิดการอักเสบมากขึ้น นอกจากนี้สารคลอรีน(Chlorine)ในสระว่ายน้ำยังเป็นสารเคมีที่ทําให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุไซนัสได้ ส่งผลให้อาการหายช้า และต้องกินยานานขึ้น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก goodlifeupdate
แหล่งที่มา ชีวจิต ฉบับที่ 7 February 2019