วิธีการออกกำลังกาย 7 แบบ เพื่อผู้สูงวัย ที่ไม่ควรพลาด
วิธีการออกกำลังกาย มีด้วยกันหลายวิธี แต่วิธีที่เหมาะแก่ผู้สูงอายุมีอะไรบ้าง เราหาคำตอบ พร้อม 7 วิธีออกกำลังกายที่ง่าย ได้ประโยชน์ และไม่เป็นอันตรายต่อผู้สูงอายุ มาให้คุณแล้ว
ข้อควรระวังในการออกกําลังกายของผู้สูงอายุ
1.ไม่ควรออกกําลังกาย เพื่อการแข่งขัน แต่เพื่อให้เกิดความเพลิดเพลินหรือผ่อนคลายดีกว่า
2.ไม่ควรกลั้นหายใจ ขณะออกกําลังกาย เพราะทําให้ความดันโลหิตสูงขึ้นทันที หรือทําให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อสมองไม่ทัน
3.ไม่ควรหยุดออกกําลังกายทันที ควรค่อยๆ ลดความเร็วลงอย่างน้อยเป็นเวลา 5-10 นาที แล้วจึงหยุด
4.ควรออกกําลังกายอย่างช้าๆ พยายามเริ่มต้นโดยใช้เวลาน้อยๆ แล้วค่อยๆ เพิ่มเวลาให้มากขึ้นในครั้งต่อไป
5.หากเกิดอาการผิดปกติระหว่างออกกําลังกาย เช่น เวียนศีรษะ ควบคุมการเคลื่อนไหวไม่ได้ เจ็บหน้าอก หายใจขัดต้องลดความหนักลง หรือหยุดออกกําลังกายทันที
รูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุ
กรมอนามัย ได้แนะนำ การออกกำลังกาย เพื่อผู้สูงอายุไว้ ดังนี้
1. การเดินหรือวิ่งช้าๆ
ผู้สูงอายุควรเริ่มออกกำลังกายจากเบาไปหนักโดยเริ่มจากการเดินช้าๆ เพื่อให้ร่างกายปรับสภาพสักระยะหนึ่ง จนร่างกายเคยชินกับการเดินแล้วค่อยเพิ่มความเร็วขึ้นเป็นการเดินเร็วหรือการวิ่ง สำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับข้อเข่าหรือข้อเท้าก็ไม่ควรวิ่ง เนื่องจากจะส่งผลให้เกิดอาการบาดเจ็บมากขึ้น
รูปภาพจาก pixels
การเดินหรือวิ่งสามารถทำได้ที่สนามหรือสวนสุขภาพ ที่มีอากาศปลอดโปร่ง มีพื้นผิวที่เรียบเพื่อไม่ให้สะดุดล้ม นอกจากนี้ควรเลือกสวมรองเท้าผ้าใบที่กระชับเพื่อรักษาข้อต่อต่างๆ ไม่ให้ได้รับแรงกระแทกมากเกินไป
2. กายบริหาร
ทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการออกกำลังกายที่บ้าน โดยสามารถออกกำลังกายได้ทุกสัดส่วน พร้อมทั้งฝึกความอดทน การทรงตัว และความยืดหยุ่นของร่างกาย ซึ่งกายบริหารมีหลายท่าให้เลือกตามความเหมาะสม เช่น เหยียดน่อง เขย่งปลายเท้า ย่อเข่า โยกลำตัว เป็นต้น
3. ว่ายน้ำหรือเดินในน้ำ
การออกกำลังกายในน้ำสำหรับผู้สูงอายุ เหมาะกับผู้ที่มีข้อเข่าเสื่อมเพราะการว่ายน้ำช่วยลดแรงกระแทกโดยตรงกับพื้นแข็ง ช่วยในการฝึกกล้ามเนื้อในทุกส่วนของร่างกายและฝึกการหายใจอย่างเป็นระบบได้ สำหรับผู้สูงอายุที่ว่ายน้ำไม่เป็น สามารถออกกำลังกายได้โดยการเดินในน้ำไปมาเพื่อให้กล้ามเนื้อได้ออกแรงมากขึ้น
4. ขี่จักรยาน
การขี่จักรยานเหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่มีความแข็งแรง เนื่องจากต้องควบคุมจักรยานและออกแรงมากกว่าปกติ การขี่จักรยานช่วยเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขามากขึ้น อีกทั้งยังทำให้ได้รับความเพลิดเพลินจากการขี่ไปยังสถานที่ต่างๆ และเหมาะกับการไปเป็นหมู่คณะ
รูปภาพจาก pixels
5. รำมวยจีน
รำมวยจีนเป็นการออกกำลังกายที่เหมาะกับผู้สูงอายุที่ให้ทั้งความอดทน ความแข็งแรง ความยืดหยุ่น ซึ่งนอกจากทางด้านทางกายแล้วยังช่วยในการฝึกจิตใจ และการหายใจให้เป็นไปตามธรรมชาติ ทั้งนี้ การรำมวยจีนทำให้ผู้สูงอายุได้เข้าสังคมมากขึ้น เนื่องจากจะได้มาร่วมออกกำลังกายกันเป็นกลุ่ม และช่วยสร้างสังคมผู้สูงอายุที่มีความชอบในการดูแลตัวเองอีกด้วย
รูปภาพจาก unsplash
6. โยคะ
โยคะเป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งที่ส่งผลให้ผู้ที่ปฏิบัติมีสุขภาวะที่ดีขึ้น ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ แต่การออกกำลังกายด้วยโยคะจะต้องมีการฝึกฝนอย่างถูกวิธีถึงจะได้ผลดีต่อร่างกาย
7. รำกระบอง
การรำกระบองให้ผลดีกับกระดูกสันหลัง ซึ่งผลดังกล่าวจะดีอย่างยิ่งกับอวัยวะที่อยู่ส่วนปลายของร่างกายอย่าง นิ้วเท้า นอกจากนั้นแล้ว ยังช่วยยืดเอ็นร้อยหวายและกล้ามเนื้อน่องได้เป็นอย่างดี และกล้ามเนื้อน่องนี่เองที่มีส่วนในการเคลื่อนไหว โค้งงอของส่วนปลายของร่างกาย เช่น มือและเท้า ทำให้ความสามารถในการยืดหยุ่นร่างกายจะเพิ่มขึ้นหลัง
ขอบขอบคุณข้อมูลจาก goodlifeupdate
แหล่งที่มา ชีวจิต ฉบับที่ 21 May 2019