สารพัดวิธีป้องกัน โรคแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน ตอนที่ 1 หลอดเลือดสมอง

สารพัดวิธีป้องกัน โรคแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน ตอนที่ 1 หลอดเลือดสมอง

หลอดเลือดสมอง หนึ่งใน โรคแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน

โรคหลอดเลือดสมองตีบ/ แตก  หรือสโตรก (Stroke)  เป็นหนึ่งในโรคแทรกซ้อนจากเบาหวานที่อันตราย  ซึ่งถูกขนานนามจากกระทรวงสาธารณสุขของประเทศสหรัฐอเมริกาว่าเป็น “Silent Killer” หรือเพชฌฆาตเงียบ  เหตุที่ถูกเรียกเช่นนี้เพราะผู้ป่วยจะมีอาการเฉียบพลัน  ไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า เป็นหนึ่งใน โรคแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน

 

อาจารย์สาทิส อินทรกำแหง ได้กล่าวในบทความอัมพาต-อัมพฤกษ์ ชื่อเพราะดี แต่หน้าตาน่ากลัว ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 3 และ 10 ธันวาคม พ.ศ.2549 ว่า

 

“สโตรก (Stroke) เป็นอาการผิดปกติที่เกิดจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ซึ่งมี2 สาเหตุ คือ เส้นเลือดสมองตีบ (Ischemic Stroke) และเส้นเลือดในสมองแตก (Hemorrhagic Stroke) ส่งผลให้สมองขาดเลือดเฉียบพลัน และเกิดอาการพิการหรือเสียชีวิตได้ทันที”

 

ทั้งนี้สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดเส้นเลือดสมองตีบและเส้นเลือดในสมองแตก คือ

 

1. ระดับน้ำตาลในเลือดสูง เมื่อมีน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานานจะส่งผลให้เส้นเลือดฝอยบริเวณสมองเสื่อม ขาดความยืดหยุ่นจึงเปราะแตกง่าย ขณะเดียวกันจะทำให้เลือดข้นเหนียว อาจเกิดลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือดสมอง ทำให้สมองขาดเลือดได้

 

2. ระดับไขมันในเลือดหรือคอเลสเตอรอลสูง เพราะผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่ยังคงกินผิด (ชอบกินแต่ของหวานและมัน) จึงมักเกิดโรคร่วมตามมา คือ ภาวะไขมันในเลือดสูง (มากกว่า 200 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรขึ้นไป)

 

โดยไขมันและแคลเซียมจะไปเกาะรวมกันแน่นที่ผนังเส้นเลือด เกิดเป็นคราบเหนียวหรือพลัค (Plaque) นานวันเข้า พลัคจะหนาขึ้น ทำให้เส้นเลือดแคบลง เกิดภาวะผนังเส้นเลือดสมองแข็ง (Atherosclerosis) และเส้นเลือดสมองอุดตัน ไม่ต่างจากการเกิดสนิมของท่อประปาเหล็กที่ถูกใช้งานมานาน หากปล่อยทิ้งไว้ ต่อไป สนิมจะจับตัวหนาเกรอะ การขนส่ง “น้ำ” ก็ไม่คล่อง และผ่านท่อไม่ได้ในที่สุด

 

3. ความดันโลหิตสูง เป็นโรคคู่หูของเบาหวาน โดยความดันโลหิตสูง (มากกว่า 140 / 90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป) จะทำให้เส้นเลือดสมองบางส่วนโป่งพองออกมา (Aneurysm) และจุดที่โป่งนั้นมีความเปราะบางสูง จึงแตกง่าย และเลือดจากรอยแตกก็จะไหลไปกดทับเซลล์สมอง ทำให้สมองส่วนนั้นตาย เมื่อสมองตายหรือขาดเลือดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งนี้ จะทำให้ผู้ป่วยกลายเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือเสียชีวิตนั่นเอง

ด้วยเหตุนี้ อาจารย์สาทิสจึงย้ำนักย้ำหนาว่า ให้ป้องกันโรคเบาหวานและสโตรกด้วยการปรับเปลี่ยนอาหาร ลด ละ เลิก

 

น้ำตาล

 

แป้งขัดขาว

 

ขนมหวาน

 

 

อาหารมันๆทั้งปวง

 

ให้เลิกสูบบุหรี่

 

เลิกดื่มเหล้า เพราะเหล้าและบุหรี่ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยเร่งให้เกิดพลัคด้วย

 

อาหารลดความเสี่ยงสโตรก

นอกจากงดอาหารที่เพิ่มความเสี่ยงการเป็นสโตรกแล้วเรายังสามารถตัดวงจรการเกิดโรคสโตรกซึ่งเป็นโรคแทรกซ้อนจากเบาหวานได้  ด้วยการเลือกกินอาหารที่มีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดดังนี้

 

1. ปลา ให้กินสัปดาห์ละ 2 มื้อ โดยเฉพาะปลาสวาย เพราะมีปริมาณกรดไขมันโอเมก้า – 3 ซึ่งผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยออริกอน ระบุว่า กรดไขมันโอเมก้า – 3 มีส่วนประกอบของกรดไขมันอีพีเอที่มีส่วนช่วยในการลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ทำให้เลือดแข็งตัวช้าลง และลดการเกาะตัวของไขมันที่ผนังหลอดเลือดในสมอง จึงลดความเสี่ยงโรคสโตรกได้

 

 

2 . กระเทียมสด ให้กินอย่างน้อยวันละ 7 – 12 กลีบ เนื่องจากมีสารเอส- อัลลิลซีสเทอีน (S-allylcysteine) ที่ช่วยกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมน

 


อินซูลินจากตับอ่อน จึงช่วยเพิ่มความสามารถในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน นอกจากนี้กระเทียมยังช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายด้วย

 

3. ผักใบเขียว ข้อมูลจากโรงพยาบาลลำปางพบว่า หากกินผักใบเขียวอย่างน้อยวันละ 5 ฝ่ามือ จะช่วยลดโอกาสการเป็นเบาหวานได้ถึง 14 เปอร์เซ็นต์ เพราะในผักใบเขียวเต็มไปด้วยสารแอนติออกซิแดนต์อย่างเบต้าแคโรทีน ซึ่งช่วยในการลดระดับน้ำตาลในเลือด อีกทั้งสามารถยับยั้งคอเลสเตอรอลไม่ให้รวมตัวกันเป็นพลัคไปเกาะผนังหลอดเลือดจนทำให้เกิดโรคสโตรก 

 

 

 

เพราะฉะนั้นลองหันมากินอาหารเหล่านี้มากๆกันดีกว่า

 

ขอขอบคุณรูปภาพจาก unsplash
ขอขอบคุณรูปภาพจาก pixels
ขอขอบคุณข้อมูลจาก goodlifeupdate