ปัจจุบันพบว่าปัญหาที่ตามมาและมักพบในสังคมผู้สูงอายุมากกว่ากลุ่มวัยอื่นๆ
คือ ภาวะสมองเสื่อม ผู้ป่วยจะมีการเสื่อมถอยความสามารถของสมองในหลายๆด้าน เช่น สูญเสียความจำ สมาธิ ความสามารถทางสติปัญญาลดลง คิดและจำเรื่องที่เป็นปัจจุบันไม่ได้ มีอาการหลงลืม ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งวันนี้เราจะมาพูดกันถึงเรื่องนี้กันค่ะ
ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิตระบุว่าขณะนี้พบผู้สูงวัยไทยสมองเสื่อมกันมากถึง 8 แสนกว่าคน พบได้ทุกๆ 8 คนในผู้สูงอายุ 100 คน ภัยที่ตามมาติดๆ คือมีปัญหาพฤติกรรมและจิตใจผิดปกติสูงถึงร้อยละ 90 พบได้บ่อย 9 อาการ อาทิ เฉยเมย ซึมเศร้า ก้าวร้าว กินนอนผิดปกติ หากพบให้รีบปรึกษาสถานพยาบาลใกล้บ้าน
ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมของผู้สูงวัย สถิติของกระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2559 ประเทศไทยมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 9.9 ล้านกว่าคน คิดเป็นร้อยละ 15 ของประชากรทั้งประเทศที่มี 65.9 ล้านคน ปัญหาที่ตามมาและมักพบในสังคมผู้สูงอายุมากกว่ากลุ่มวัยอื่นๆ คือ ภาวะสมองเสื่อม (dementia) โดยผู้ป่วยจะมีการเสื่อมถอยความสามารถของสมองในหลายๆ ด้าน เช่น สูญเสียความจำ สมาธิ ความสามารถทางสติปัญญาลดลง คิดและจำเรื่องที่เป็นปัจจุบันไม่ได้ มีอาการหลงลืม ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน
อาการหลงลืมนั้นสามารถเกิดขึ้นในคนทั่วไปที่มีความเครียดวิตกกังวลหรือเร่งรีบได้ เรียกว่าสมองเสื่อมเทียม อาการจะเกิดขึ้นชั่วคราวแล้วจะค่อยๆ นึกได้ในภายหลัง แต่ในผู้ที่สมองเสื่อมจะจำไม่ได้เลย ผลสำรวจของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขโดยการตรวจร่างกายครั้งล่าสุดในปี 2557 พบผู้สูงอายุ 60ปีขึ้นไป มีภาวะสมองเสื่อมร้อยละ 8.1 คาดว่าขณะนี้มีประมาณ 8 แสนกว่าคนทั่วประเทศ พบในผู้หญิงมากว่าชาย อายุยิ่งมากยิ่งพบมาก
ปัญหาที่พบบ่อยในผู้ป่วยสมองเสื่อมนอกจากเป็นเรื่องของความจำแล้ว ยังพบว่าร้อยละ 90 หรือประมาณ 7 แสนกว่าคนมีปัญหาพฤติกรรมและจิตใจร่วมด้วย จึงเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงขณะที่ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นสังคมผู้สูงวัย หากไม่มีการดูแลตัวเองเพื่อป้องกันตั้งแต่เนิ่นๆ ที่ยังไม่เข้าสู่วัยสูงอายุ คาดว่าจำนวนผู้ป่วยโรคนี้อาจเพิ่มขึ้นนับล้านคน และมีปัญหาพฤติกรรมและจิตใจเพิ่มขึ้นนับแสนคน เป็นเรื่องที่บั่นทอนสุขภาพจิตและเป็นภาระให้แก่ผู้ดูแลและครอบครัวเป็นอันมาก
ประการสำคัญหากผู้ดูแลขาดความรู้ความเข้าใจในอาการผู้ป่วย ผู้ป่วยบางคนอาจถูกทารุณกรรมหรือถูกทอดทิ้งได้ ได้มอบหมายให้โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ ซึ่งเป็นศูนย์เชี่ยวชาญเรื่องโรคจิตเวชในผู้สูงอายุของกรมสุขภาพจิต เร่งให้ความรู้ความเข้าใจประชาชนโดยเฉพาะครอบครัวที่มีผู้สูงอายุมีภาวะสมองเสื่อมในขณะนี้
สมองเสื่อมคือภาวะที่ผู้ป่วยมีการเสื่อมของการทำงานของสมองทั้งหมด ซึ่งจะมีผลทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับความจำ ความรอบรู้ มีการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมและบุคลิกภาพของผู้ป่วยรายนั้นๆ สมองเสื่อมไม่ใช่เป็นภาวะที่พบได้ทั่วไปเมื่อคนเราสูงอายุ ภาวะสมองเสื่อมเป็นโรคที่เกิดในคนนั้นๆ คนสูงอายุทั่วไปอาจจะมีการลืมได้บ้าง แต่ว่าลืมแล้วก็จำได้ อาจจะนึกไม่ออกว่าเราเอาของไปวางไว้ที่ไหน แต่ก็รู้ว่าเราต้องไปวางไว้แน่ๆ จำได้ว่าเราถือมาแต่เอาไปวางไว้ที่ไหน แล้วเราก็หาดูว่าเราเอาไปวางไว้ที่ไหน
แต่ผู้ป่วยสมองเสื่อมสิ่งเหล่านี้ผู้ป่วยจะจำไม่ได้เลยว่าหยิบของนี้มา หรือจำไม่ได้เลยว่ามีการทำกิจกรรมต่างๆ เกิดขึ้น เช่น จำไม่ได้ว่ารับประทานอาหารไปหรือยัง จำไม่ได้ว่าเพิ่งกินไปประเดี๋ยวนี้ การลืมใหญ่ๆ แบบนี้เป็นลักษณะของผู้ป่วยสมองเสื่อม
นอกจากนั้น ผู้ป่วยจะมีการปลี่ยนแปลงทางบุคลิกภาพร่วมด้วย คือ แต่ก่อนเคยมีบุคลิกภาพอย่างหนึ่ง อาจจะเป็นคนแต่งตัวสวยงาม ดูแลตัวเองอยู่เสมอ เมื่อมีอาการเปลี่ยนแปลงทางสมอง ผู้ป่วยจะไม่สนใจตัวเอง ไม่ดูแลตัวเอง ให้ไปทำผมสระผมก็ไม่ไป บางรายไม่ยอมอาบน้ำ อาจมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่โกรธเกรี้ยว ก้าวร้าว รุนแรง หรือในทางกลับกันบางคนกลับยิ้มหรือหัวเราะตลอดเวลา ทั้งที่ไม่ใช่เรื่องขำ อย่างนี้เป็นลักษณะของสมองเสื่อม
ส่วนคนที่ขี้ลืมเอาของไปวางแล้วจำไม่ได้ว่าไปวางที่ไหน จอดรถอย่างรวดเร็วลงรถเดินออกไปแล้วจำไม่ได้ว่าตัวเองล็อกรถหรือยัง ต้องเดินกลับมาดู การฝึกตัวอยู่เสมอจะทำให้การลืมลดลง
ทั้งนี้สาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุสมองเสื่อมเกิดปัญหาพฤติกรรมและจิตใจ อาจเกิดมาจากการมีพยาธิสภาพบางอย่างเกิดในสมองผู้ป่วย การเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาท หรือเกิดจากการที่ผู้ป่วยไม่สามารถสื่อสารถึงสิ่งที่ตนต้องการได้ เช่น หิว เจ็บปวด กลัว เครียด เป็นต้น รวมทั้งอาจเกิดมาจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่น สภาพอากาศร้อน เสียงดัง ผู้คนพลุกพล่านรบกวน แสงสว่างไม่พอ เป็นต้น
เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว ลองเช็กผู้สูงอายุใกล้ตัวคุณดูว่า มีอาการเหล่านี้หรือยัง?
ขอขอบคุณรูปภาพจาก unsplash
ขอขอบคุณรูปภาพจาก pixels
ขอขอบคุณข้อมูลจาก goodlifeupdate