โรคสมองเสื่อมส่วนใหญ่ หลายคนจะเข้าใจว่าคือโรคอัลไซเมอร์
แต่จริงแล้วนั้น คือโรคอัลไซเมอร์ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโรคสมองเสื่อมส่วนหนึ่งเท่านั้น หากแต่ผู้สูงอายุเป็นโรคอัลไซเมอร์ก็ได้ แต่อาจจะมาจากสาเหตุอื่นๆ ซึ่งบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นอัลไซเมอร์ได้ ดังนี้
1.ผู้สูงอายุ เพราะว่าผู้สูงอายุบางครั้งก็ไม่ได้ทำอะไร ไม่ได้มีการบริหารสมองจึงทำให้เกิดโรคนี้ได้ง่ายกว่าวัยอื่น
2.เพศที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอัลไซเมอร์มากที่สุด คือเพศหญิง
3.ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความจำเสื่อมนั้นอาจเกิดจากพันธุกรรม เพราะว่าผู้ป่วยที่เคยมีประวัติเกี่ยวกับครอบครัวว่าเคยเป็นโรคนี้ ในอัตราส่วน 30 ถึง 40 เปอร์เซ็นต์
สาเหตุที่พบได้บ่อยมาก มี 2 ชนิด ที่ผู้ป่วยอาจจะไม่ได้เกิดจากโรคอัลไซเมอร์
1.ชนิดไม่ทราบสาเหตุ อันนี้ผู้ป่วยก็เกิดสมองฝ่อขึ้นมาโดยที่ไม่ทราบสาเหตุ (หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าโรคอัลไซเมอร์)
2.เกิดจากเลือดไปเลี้ยงสมองลดลง และทำให้หลอดเลือดแข็งตีบตัน ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ
ยังมีสาเหตุอีกมากมายที่ยังเกิดขึ้นได้ในทุกวันอย่างเช่น
อาจเกิดจากการติดเชื้อในสมอง เช่นการที่ได้รับเชื้อไวรัสทำให้สมองเสื่อมได้ รวมถึงการที่ร่างกายของผู้ป่วยขาดวิตามิน เช่น วิตามินบี 1 หรือวิตามินบี 12 ส่วนใหญ่ผู้ป่วยประเภทนี้เซลล์สมองจะทำงานไม่ปกติ ผู้ที่ดูแลผู้สูงอายุอาจจะให้ท่านกินอาหารประเภทตับ นม ผักใบเขียว ถั่วเหลือง และข้าวกล้อง เพราะอาหารที่กล่าวมาข้างต้นนี้ทำให้ไปช่วยในการทำงานของเซลล์สมองให้ปกติดีขึ้น
ส่วนระยะความรุนแรงของสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ แบ่งได้เป็น 3 ระยะ
ระยะแรก ผู้ป่วยมีอาการหลงลืมในเรื่องเพิ่งเกิดขึ้นอย่างเช่นจำไม่ได้ว่าวางของที่ไหน ท่านที่คอยดูแลผู้สูงอายุควรให้ความสำคัญกับท่านด้วยหรือคอยสอดส่องว่าท่านถืออะไรไปไว้ที่ไหน ผู้ป่วยโรคนี้จะไม่มีสมาธิและไม่สามารถจดจ่อกับกิจกรรมต่างๆ ได้นาน แต่ผู้ป่วยจะมีความทรงจำเกี่ยวกับอดีตได้ดี
สำหรับท่านที่ดูแลผู้สูงอายุอย่ามองข้ามเพราะนี่หมายถึงภาวะสมองเสื่อมระยะแรก สิ่งที่เกิดขึ้นท่านดูแล้วมองข้ามไปว่าเป็นโรคของคนชราทั่วไปเพียงเพราะ ผู้ป่วยกลุ่มนี้ยังสามารถอยู่คนเดียวได้ สามารถทำกิจวัตรประจำวันเองได้โดยตัวเอง และมีความสามารถในการตัดสินใจได้ดีเท่านั้นเอง
ระยะปานกลาง เป็นระยะที่เริ่มมีความจำเสื่อมมากขึ้น มีความสามารถในการเรียนรู้ได้น้อยลง มีความบกพร่องในเรื่องความเข้าใจและกะระยะทางจากการมอง และการใช้ภาษาผิดเพี้ยนไปจากเดิม สำหรับท่านที่ดูแลผู้ป่วยระยะนี้ท่านต้องช่วยดูแลผู้ป่วยในเรื่องกิจกรรมต่างๆ อย่างเช่น ดูแลเรื่องเกี่ยวกับการกินอาหาร และยา และผู้ป่วยโรคนี้จะมีอาการพูดซ้ำๆ สับสน กระสับกระส่าย หรือถึงขั้นประสาทหลอนได้ เพราะฉะนั้นเราเป็นผู้ดูแลท่านอย่าปล่อยให้ท่านอยู่เพียงลำพัง เพราะจะทำให้เกิดอันตรายได้ และที่สำคัญเราต้องให้กำลังใจท่านอย่าดุ อย่าว่าในสิ่งที่ท่านทำผิด เพราะจะทำให้สภาพจิตใจของท่านแย่ลงทันที
ระยะรุนแรง เป็นระยะที่รุนแรง ผู้สูงอายุที่เป็นโรคนี้จะจำสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้เลย สำหรับผู้ที่ดูแลผู้สูงอายุ คุณต้องอยู่กับท่านอย่างใกล้ชิดเพราะท่านไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ต้องคอยอาบน้ำให้ท่านล้างหน้าให้ท่าน ป้อนข้าว และพาท่านไปเข้าห้องน้ำ สวมเสื้อผ้าให้ท่าน อาการที่เป็นจะเริ่มจาก มีการเคลื่อนไหวช้าลงมากและไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้ และส่วนมากท่านจะพูดไม่ค่อยรูเรื่อง หรือไม่พูดเลย
วิธีการดูแลผู้สูงอายุในภาวะสมองเสื่อม
อันดับแรกควรเข้าใจผู้ป่วย ถึงแม้ว่าท่านจะมีความจำและสติปัญญาไม่เหมือนเดิม แต่สิ่งที่ท่านมีอยู่ก็คืออารมณ์และความรู้สึกเหมือนกับเรานั่นเอง ผู้สูงอายุยังคงมีความรู้สึกเสียใจ น้อยใจ ดีใจ กังวลใจ อับอาย และเศร้า ดังนั้น สิ่งที่สำคัญคือการสื่อสารกับท่าน เราควรแสดงออกไม่ว่าจะเป็นทางกายหรืออารมณ์ต่อหน้าท่าน ในทางที่ดี เราควรเข้าใจท่านและให้ความสำคัญกับท่าน เพื่อประคับประคองอาการของท่าน ถึงแม้ว่ายังไม่มีการรักษาให้หายขาด โดยเฉพาะผู้สูงอายุในระยะรุนแรง แต่เราสามารถที่จะชะลอให้สมองของท่านเสื่อมช้าลงได้ ดังนี้
การลืมรับประทานยา
ส่วนมากผู้สูงอายุส่วนใหญ่ที่เป็นโรคสมองเสื่อมจะจำไม่ได้ว่ากินยาไปแล้วหรือยัง จึงทำให้กินยาเกินขนาดที่แพทย์สั่ง และอาจทำให้เกิดอันตรายได้ สำหรับคนที่ต้องดูแลผู้สูงอายุที่มีโรคสมองเสื่อมในระยะแรก อาจทำให้ผู้สูงอายุไม่ค่อยพอใจเท่าที่ควรหากไปจัดยาให้ท่าน ในกรณีนี้เราอาจจะดูแลแค่เตือนท่านว่า กินยาหรือยัง แต่ถ้าในกรณีที่ผู้สูงอายุที่เป็นโรคสมองเสื่อมระยะรุนแรงแล้วเราควรจัดยาให้ท่าน
เราต้องหาอุปกรณ์การจ่ายยาสำหรับกินก่อนอาหารหรือหลังอาหารรวมไปถึงจำนวนวันอาจจะจัด 1 วันหรือ 3 วัน เราควรดูยาที่เหลือและกากบาทปฏิทินในแต่ละวันหลังกินยาเรียบร้อยแล้ว
การสูญเสียความทรงจำ
การสูญเสียความทรงจำเป็นอาการแรกๆ ของผู้สูงอายุที่เห็นได้ชัดเจน ผู้สูงอายุที่เป็นโรคสมองเสื่อมจะไม่สามารถจำเรื่องราวต่างๆ ที่เพิ่งเกิดขึ้นได้ จึงทำให้ท่านมีอาการบ่นพึมพำว่าไม่มีใครสนใจ เพราะลืมในสิ่งที่เห็นและได้พูดไว้ จำไม่ได้ว่าตัวเองได้ทำอะไรไปบ้าง ขึ้นอยู่กับอาการว่าท่านอยู่ในระยะใด หากแต่ท่านอยู่ในระยะรุนแรง ท่านอาจจะไม่สามารถจะจำชื่อของเราได้ จำไม่ได้ว่าเราเป็นใคร และรับประทานอาหารหรือยัง แต่ถ้าผู้สูงอายุที่มีโรคสมองเสื่อมในระยะปานกลาง จะจำได้ว่ารับประทานข้าวแล้ว แต่ท่านจะจำไม่ได้ว่าทานอะไรเป็นอาหารมื้อเช้าค่ะ
สำหรับผู้ดูแลเอง ก็ควรหาปฏิทินขนาดใหญ่ติดไว้ในที่ผู้สูงอายุมองเห็นชัด แล้วให้ผู้สูงอายุกากบาททับตัวเลขวันที่ของแต่ละวันที่ผ่านไป หรือถ้าท่านลืมเราต้องคอยบอกท่านให้ท่านกากบาทด้วยตัวของท่านเอง เพื่อที่จะได้จดจำว่า วันนี้เป็นวันที่เท่าไร เดือนอะไร และปีอะไร และแนะนำให้ท่านจดบันทึกในแต่ละวันว่าวันนี้ได้ทำอะไรไปบ้างตั้งแต่เช้า เพื่อช่วยให้ท่านฝึกสมองไปในตัวอีกด้วย
การหลงทาง
การหลงทาง สำหรับผู้สูงอายุที่เป็นโรคสมองเสื่อมจะเกิดขึ้นในระยะปานกลางได้อย่างเช่น จำทางไปห้องน้ำไม่ได้ หรือเดินออกจากบ้านไปแล้วหาทางกลับบ้านไม่ถูก สำหรับเราที่ดูแลท่านผู้สูงอายุควรทำเครื่องหมายภายในบ้าน หรือทำสัญลักษณ์บอกทิศทางเกี่ยวกับห้องครัว ห้องนอน ห้องน้ำ หรือสนามหญ้า เป็นต้น
สำหรับภายในบ้านนั้นเราควรมีป้ายติดไว้ที่หน้าห้องส้วม ห้องนอน แล้วทำลูกศรใหญ่ให้ท่านเห็น หรือทำสัญลักษณ์ที่บันได และมีราวจับให้แน่นหนาทั้งสองข้าง มีแสงสว่างให้เพียงพอ รวมไปถึงไฟในห้องน้ำ ส่วนพื้นในห้องน้ำต้องแห้ง และต้องมีราวสำหรับเกาะเพื่อป้องกันท่านลื่นล้ม
ส่วนในกรณีที่ผู้สูงอายุออกไปเที่ยวนอกบ้าน ควรมีบัตรประจำตัวประชาชนติดไว้ในกระเป๋าเสื้อ หรือเขียนในกระดาษว่า ชื่อ-นามสกุล เบอร์โทรศัพท์ และที่อยู่ เพื่อให้ผู้ที่พบเจอสามารถติดต่อกับคนที่บ้านให้มารับ กรณีที่ท่านกลับบ้านไม่ได้
การสื่อสาร
การสื่อสารเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ผู้สูงอายุที่เป็นโรคสมองเสื่อมจะสูญเสียทักษะในการสื่อสาร เริ่มจากลืมชื่อสถานที่ ชื่อคน จนไปถึงไม่สามารถเข้าใจคำพูดของเราได้ หรือท่านจะพูดแต่เรื่องที่ตัวเองจำได้ ซ้ำกันไปมาอยู่อย่างนั้น ผู้ดูแลต้องทำความเข้าใจ เห็นใจท่าน อย่าดุท่าน เพราะถ้าท่านแสดงกิริยาที่ไม่ดีแล้วจะทำให้ผู้สูงอายุที่เป็นโรคสมองเสื่อม ตอบสนองโดยอาการโศกเศร้าและร้องไห้
อันดับแรกเราต้องตรวจสอบก่อนว่าผู้สูงอายุที่เราดูแลท่านอยู่สามารถได้ยินหรือไม่ เพราระอาจมีปัญหาหูตึงก็ได้ เราควรพาท่านไปตรวจสอบการได้ยิน เพื่อให้แน่ใจว่าท่านไม่ได้หูตึง หลังจากนั้นท่านควรพูดให้ชัดเจนและใช้ภาษาง่ายๆ ให้เวลาท่านทำความเข้าใจกับสิ่งที่เราพูด หรือเราควรใช้ภาษากายแสดงท่าทางประกอบการสื่อสาร เช่น ยิ้มเพื่อให้กำลังใจ จับมือ
แต่ในกรณีที่เป็นผู้สูงอายุเป็นโรคสมองเสื่อมระยะรุนแรง อาจจะลืมว่าเราเป็นใคร ชื่ออะไร ประการแรกเราต้องบอกชื่อท่าน ช้าๆ ชัดๆ หลายครั้งเพื่อให้ท่านมั่นใจและเข้าใจว่าเราเป็นใคร และเมื่อผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมใดเสร็จแล้วเราก็ชมเชยและให้กำลังใจท่าน เพื่อให้ท่านมีกำลังใจในการดำรงชีวิตต่อไปอย่างมีคุณค่า และรู้สึกว่าตัวเองไม่ได้เป็นภาระแต่อย่างใด
การรับรู้บกพร่อง สับสนหลงลืม
บางครั้งผู้สูงอายุที่เป็นโรคสมองเสื่อมอาจสับสน หลงลืมเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ได้ หรือไม่สามารถแยกระหว่างกลางวัน และกลางคืน เราควรทำกระดานบอกเวลากลางวันหรือกลางคืน หรือตั้งนาฬิกาปลุกว่าเป็นเวลาเช้าแล้ว เพื่อให้ท่านเข้าใจว่าเวลาไหนเป็นเวลากลางวันหรือกลางคืน
การสูญเสียทักษะ
การสูญเสียทักษะผู้สูงอายุที่เป็นโรคสมองเสื่อมจะสูญเสียทักษะในด้านกิจกรรมต่างๆ อย่างเช่น เคยเป็นแม่ครัว แต่ปัจจุบันปรุงอาหารผิดเพี้ยนไป ลืมปิดเตาแก๊ส อาจได้รับอันตรายได้ ผู้สูงอายุที่เป็นโรคสมองเสื่อมระยะรุนแรงไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองแม้กระทั่งดื่มน้ำ อาบน้ำ
แต่เราควรช่วยสนับสนุนท่านที่เป็นโรคสมองเสื่อมให้ท่านสามารถรักษาทักษะที่มีอยู่คือ ให้ท่านทำกิจวัตรประจำจนเคยชิน อย่างเช่น ล้างจาน ถอนหญ้า ปลูกต้นไม้ และเลี้ยงสัตว์ หรือไม่ก็โทรมาหาท่านในยามที่เรามีงานด่วนอยู่ต่างจังหวัด เราต้องคอยโทรเตือนท่าน และให้ท่านทวนข้อความดังงกล่าวอีกด้วย และเราก็จัดเตรียมสมุด เบอร์โทรทุกคน สมาชิกในครอบครัว เบอร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาล สถานีดับเพลิง สถานีตำรวจ และเบอร์เพื่อนๆ ที่ท่านรู้จักไว้ สำหรับท่านได้โทรศัพท์ไปหาได้ทันที
การมีส่วนร่วมในกิจกรรม
ผู้สูงอายุที่เป็นโรคสมองเสื่อมควรได้รับกำลังใจที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมของครอบครัว เราควรส่งเสริมให้ท่านมีงานอดิเรก อย่างเช่น สะสมแสตมป์ สะสมพระเครื่อง สะสมเหรียญเก่า เข้าชมรมผู้สูงอายุ
ถ้าเป็นผู้สูงอายุที่เป็นโรคสมองเสื่อมในระยะปานกลาง เราควรให้ท่านเข้ากับกิจกรรมครอบครัวอย่างเช่น การดูโทรทัศน์ คอยดูแลให้ท่านคอยติดตามรายการ หรือควรกระตุ้นให้ทำงานอดิเรกอย่างเช่น ฟังเทป หรือวิทยุรายการธรรมะ และเมื่อฟังแล้วก็ให้นำเรื่องที่ได้ยินกลับนำมาเล่าให้พวกเราอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ท่านรู้สึกมีความสุขและรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าภายในครอบครัว ช่วยลดความตึงเครียดภายในบ้านได้ หรือถึงวันสำคัญ เราควรพาพวกท่านไปเที่ยววัดบ้าง หรือนำของขวัญให้ท่านเมื่อถึงวันเกิดท่าน หรือขอพรท่านในวันสำคัญต่างๆ อย่างเช่นวันขึ้นปีใหม่
พฤติกรรมผิดปกติ
ส่วนมากแล้วผู้สูงอายุจะมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม หากแต่ไม่ใช่โรคสมองเสื่อมเท่านั้น แต่เป็นกันเกือบทุกคน อย่างเช่น เดินเรื่อยเปื่อยออกไปนอกบ้าน กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ พฤติกรรมก้าวร้าว และเปลื้องผ้า จากพฤติกรรมดังกล่าวเนื่องมาจากการสื่อสารผิด และเราคอยห้ามปรามท่านเมื่อท่านทำไม่ถูกต้อง
กรณีนี้เราต้องช่วยให้ผู้สูงอายุที่เป็นโรคสมองเสื่อมมีพฤติกรรมดังกล่าวให้น้อยลง เราควรทำความเข้าใจให้กับท่านเพราะนี่คือสิ่งที่สำคัญสาเหตุของปัญหาเหล่านี้ บางครั้งผู้สูงอายุอาจจะเกรงใจเรา หรือไม่กล้าที่จะบอกเพราะอาย
เมื่อผู้สูงอายุเริ่มมีพฤติกรรมก้าวร้าว อาจเป็นเพราะว่าผู้สูงอายุเกิดการหวาดระแวง อาจรู้สึกหงุดหงิด ถ้าหาอะไรไม่พบ เราควรดูแลเรื่องเกี่ยวกับสิ่งของ ต้องวางให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เราควรอธิบายให้ผู้สูงอายุเข้าใจอย่างช้าๆ เช่น ผู้สูงอายุโวยวายขณะที่เราพาท่านออกนอกบ้านเพื่อไปหาหมอ แต่ท่านไม่ยอม เราต้องอธิบายว่าไปตรวจเฉยๆ ไม่ได้ฉีดยา ไม่เจ็บ
เมื่อผู้สูงอายุกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ สิ่งที่เราควรทำมากที่สุดคือป้ายหน้าห้องน้ำและมีไฟด้วย เราควรให้ท่านดื่มน้ำให้ได้ 6-8 แก้วต่อวัน จึงทำให้ท่านไม่เกิดภาวะขาดน้ำ เราควรเตือนท่านให้เข้าห้องน้ำเป็นเวลา หรือถ้ามีการปัสสาวะบ่อยอาจมีการติดเชื้อได้ ยิ่งถ้ามีอาการหนาวสั่นแล้วต้องรีบพาไปพบแพทย์ทันที
ปัญหาของผู้ดูแล
การที่เราดูแลพ่อแม่ หรือผู้สูงอายุที่เป็นโรคสมองเสื่อม อาจเป็นภาระของครอบครัว เราในฐานะผู้ดูแลต้องการกำลังใจเช่นกัน บางครั้งอาจจะเครียดเพราะมีภาระรับผิดชอบอื่นๆ เช่น ลูก หลาน ทำให้เหนื่อยมากยิ่งขึ้น หากถูกรบกวนในเวลากลางคืน ก็ทำให้ความเป็นส่วนตัวน้อยลงไป การไปติดต่อสื่อสารกับผู้คนรอบข้างก็น้อยลง
สิ่งที่เราต้องรับรู้คือ เราควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อมว่าคืออะไร เพื่อที่เราจะได้เข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในผู้สูงอายุ ควรพยายามอ่านเอกสารให้เข้าใจเกี่ยวกับสมองเสื่อม เราต้องพักผ่อนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ หาเวลาออกไปนอกบ้านบ้าง หรือหาจ้างคนมาแบ่งเบาภาระช่วงเวลาหนึ่ง
บางครั้งเราอาจจะมีอารมณ์ที่ไม่พอใจอาจเกิดขึ้นได้ แต่เราไม่ควรไปใส่อารมณ์กับท่าน เพราะถ้าท่านได้ยินแล้วก็ทำให้เรารู้สึกผิดในภายหลัง การที่ได้รับกำลังใจโดยที่ไปปรึกษาแพทย์ หรือเป็นผู้ดูแลเหมือนกันอาจมีการแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน อาจทำให้มีคำแนะนำที่เหมาะสมที่จะทำให้แก้ปัญหาได้ในที่สุด
ขอขอบคุณรูปภาพจาก unsplash
ขอขอบคุณรูปภาพจาก pixels
ขอขอบคุณข้อมูลจาก goodlifeupdate