อาหารสามสี สำรับป้องกันเบาหวาน ของคนเวียงสา จังหวัดน่าน

อาหารสามสี สำรับป้องกันเบาหวาน ของคนเวียงสา จังหวัดน่าน

อาหารสามสี ไฟจราจรในสํารับของคนเวียงสา จังหวัดน่าน

อาหารสามสี หรืออาหารไฟจราจร กินได้ กินไม่ได้ ชนิดไหนเหมาะกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน สไตล์คนน่าน มาดูกัน

โดยตําแหน่งพยาบาลวิชาชีพชํานาญการ สังกัดสํานักงานสาธารณสุขอําเภอเวียงสา จังหวัดน่าน คุณภิญยา ไปมูลเปี่ยม ไม่ได้ทําหน้าที่แค่ดูแลผู้ป่วย แต่เธอยังเป็นนักสังเกตพฤติกรรมการกินของเพื่อนร่วมชุมชนนับสิบปีผ่านไป เธอก็เรียนรู้ว่า คนเวียงสากินอาหารใส่ผลิตภัณฑ์ปรุงรสอย่างผงชูรสในรูปแบบต่างๆเป็นจํานวนมาก แถมด้วยอาหารสําเร็จรูปที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์ยี่ห้อดังตามโฆษณาเกลื่อนกล่นในโทรทัศน์

 

ขณะเดียวกันกับที่จํานวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆเพิ่มขึ้นแม้หน่วยงานสาธารณสุขจะจัดอบรมเจ้าหน้าที่ เพื่อนําความรู้มาบอกกล่าวแก่ประชาชนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน แต่ไม่ว่าจัดกี่ครั้งต่อกี่ครั้ง รูปแบบการบรรยายและฉายพาวเวอร์พอยต์ก็ชวนให้ทุกคนหลับใหล ไม่รับรู้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ใดๆ

“เมื่อกลางปีพ.ศ. 2553 เราได้งบประมาณจากสปสช. (สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) ก็มาคิดกันว่า จะทําอย่างไรให้ผู้ป่วยโดยเฉพาะโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่รับผิดชอบอยู่ไม่ฟังข้อมูลความรู้แบบเข้าหูซ้ายทะลุหูขวา

 

“จึงคิดถึงไฟจราจร สีแดงให้หยุด สีเหลืองให้เตรียมหยุด และสีเขียวให้ไปเลยลองให้น้องทีมงานไปรวบรวมตัวอย่างอาหารตามสีต่างๆมาแยกใส่ตะกร้าทั้งสามสี ซึ่งก็ได้สีเขียวและเหลืองมามากพอสมควร แต่สีแดงนั้นมีแค่แคบหมู”

คุณภิญยาต้องการตัวอย่างอาหารสีแดงเพิ่มเติม บังเอิญไปเห็นขยะในถังของร้านขายของชําแห ่งหนึ ่งที ่ขายอาหารและเครื่องดื่มด้วย จึงคุ้ยเขี่ยดู และพบว่า ส่วนใหญ่ เป็นบรรจุ ภัณฑ์ของอาหารและเครื่องดื่มที่เห็นในโฆษณาไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่มชูกําลัง เบียร์กระป๋อง กาแฟกระป๋อง น้ำอัดลม น้ำส้ม 25 เปอร์เซ็นต์ และขนมกรุบกรอบ…

นี่แหละคือกลุ่มอาหารก่อการร้ายต่อสุขภาพ สาเหตุโรคเบาหวานและความดัน…เธอคิด และขอเก็บตัวอย่างมาใส่ตะกร้าสีแดงของทีมงานด้วย เมื่อคุณภิญยาและทีมงานเริ่มเดินสายบรรยายให้กลุ่มผู้ป่วยตามโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล หรือรพ.สต. (เดิมเรียกว่าสถานีอนามัย) ในอําเภอเวียงสา จํานวน 26 แห่ง พร้อมตัวอย่างอาหารสามสี การบรรยายแบบให้ผู้ป่ วยมีส่วนร่วม ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

 

โดยเฉพาะเบาหวาน ก็เข้าใจถึงสิ่งที่ควรกินและไม่ควรกินมากยิ่งขึ้น นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 จนถึงวันนี้ ผู้ป่วยจํานวน 70 เปอร์เซ็นต์ที่เข้าร่วมโครงการมีระดับน้ําตาลในเลือดลดลง

 

 

อาหาร เขียว (ควรกิน)

 

เหลือง (ควรระวัง)

 

 

 

แดง (ไม่ควรกิน)

 

 

 

 

ผู้ป่วยเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ควรระมัดระวังเรื่องการกินอาหารที่ไม่เหมาะสม

 

ที่มา: คอลัมน์เรื่องพิเศษ,เอื้อมพร และพรรณรวี

ขอขอบคุณรูปภาพจาก unsplash
ขอขอบคุณรูปภาพจาก pixels
ขอขอบคุณข้อมูลจาก goodlifeupdate