กินยังไงไม่ให้เป็นโรคไต? อาหารแบบไหน เสี่ยงโรคไต มากที่สุด

กินยังไงไม่ให้เป็นโรคไต? อาหารแบบไหน เสี่ยงโรคไต มากที่สุด

เนื่องในโอกาสที่สมาคมโรคไตแห่งประเทศได้จัดงานวันไตโลก (World kidney day)

ขึ้นในเดือนมีนาคม พ.ศ.2563 จะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม 2563 ณ ลานอีเดน ชั้น 1 ภายในศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ราชประสงค์ ตั้งแต่เวลา 10.00 -19.00 น. โดยในปีนี้ได้เน้นไปที่หัวข้อการป้องกันโรคไต ในคำขวัญที่ว่า “คัดกรอง ป้องกัน รู้ทัน โรคไต” จึงอยากจะมาแบ่งปันความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันโรคไตที่เป็นภัยต่อสุขภาพของคนไทยในทุกเพศทุกวัยกัน ว่าอาหารแบบไหน เสี่ยงโรคไต มากที่สุด

ใครเสี่ยงเป็นโรคไตบ้าง?

คนทุกเพศทุกวัยตั้งแต่วัยเด็ก วัยผู้ใหญ่ ไปจนถึงวัยสูงอายุ ล้วนเสี่ยงต่อการเป็นโรคไตเรื้อรังได้

 

พฤติกรรมแบบไหน เสี่ยงโรคไตมากที่สุด

“พฤติกรรมการใช้ชีวิตและการกินอยู่” นับเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คนไทยมีความเสี่ยงเป็นโรคไตเรื้อรังเพิ่มขึ้นเราลองมาสำรวจตัวเองกันดูสักนิดว่า “เราได้เปิดประตูต้อนรับโรคไตเรื้อรังให้เข้ามาในชีวิตบ้างแล้วหรือยัง” โดยดูจากพฤติกรรมของตัวเราเอง ยกตัวอย่างเช่น ชอบกินอาหารรสจัดคำว่า “รสจัด” รวมความถึง เค็มจัด หวานจัด เผ็ดจัด และมันจัด อาหารรสจัดทำให้ไตทำงานหนัก จึงมีส่วนทำให้เป็นโรคไตได้

จากข้อมูลของเครือข่ายลดบริโภคเค็มพบว่าปัจจุบันคนไทยกินเค็มมากกว่ามาตรฐาน 2 – 3 เท่า หรือประมาณ 4,000 มิลลิกรัม คนปกติไม่ควรกินโซเดียมเกินวันละ 2,000 มิลลิกรัมหรือคิดเป็นเกลือป่นประมาณ 5 กรัม (1 ช้อนชา)

• การกินอาหารนอกบ้าน เช่น อาหารฟาสต์ฟู้ด อย่างเช่น พิซซ่า แฮมเบอร์เกอร์

 

รูปภาพจาก pixels

 

• การกินอาหารฟาสต์ฟู้ด เช่น เฟรนช์ฟรายส์

 

รูปภาพจาก pixels

 

• อาหารปิ้งย่าง

 

รูปภาพจาก pixels

 

• ของหมักดอง ซึ่งเสี่ยงต่อการได้รับโซเดียมมากเกินปกติ

 

รูปภาพจาก pixels

 

• การดื่มน้ำน้อยเกินไป หรือ ดื่มน้ำมากเกินไป เพราะไตทำหน้าที่กำจัดของเสียในร่างกาย และต้องใช้น้ำเป็นตัวพาไปสู่การกรองจนกระทั่งกลายเป็นปัสสาวะ แต่หากดื่มน้ำมากไตก็จะทำงานหนักเกิน

 

รูปภาพจาก pixels

 

• การกินไม่ยั้งจนน้ำหนักเกิน

 

รูปภาพจาก pixels

 

• ไม่ออกกำลังกาย ทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานหรือโรคความดันโลหิตสูงตามมา

 

รูปภาพจาก pixels

 

หากเราเป็นคนหนึ่งที่กำลังมีพฤติกรรมแบบนี้ โอกาสที่เราจะเปิดประตูต้อนรับโรคไตเรื้อรังเข้ามาในชีวิตนับว่ามี “สูง” เราจึงต้องเริ่มปรับพฤติกรรม และหาเวลาไปพบแพทย์ตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อตรวจคัดกรองโรคไต

 

ตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อตรวจคัดกรองโรคไต ตรวจอะไรบ้าง?

การตรวจคัดกรองโรคไต เป็นการตรวจพื้นฐานได้แก่ การตรวจค่าการทำงานของไตจากการเจาะเลือด (blood urea nitrogen และ creatinine) หรือการตรวจปัสสาวะ (urinalysis) และปริมาณโปรตีนที่รั่วในปัสสาวะ (albuminuria) เป็นต้น

การวินิจฉัยโรคไตเรื้อรังตั้งแต่แรกเริ่ม จะช่วยให้สามารถเริ่มใช้มาตรการชะลอการเสื่อมของไตได้เร็วขึ้น

 

สัญญาณเตือนว่าเราอาจเป็นโรคไต

ในทางการแพทย์มีอาการสำคัญบางอย่างที่อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าคุณอาจเป็นโรคไต อาการเหล่านั้นได้แก่

 

รูปภาพจาก pixels

 

• ปัสสาวะขัด หรือ ลำบาก

• ปัสสาวะกลางคืน

• ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ

• ปัสสาวะเป็นเลือด ขุ่น มีฟองหรือมีสีน้ำล้างเนื้อ

• อาการบวมที่รอบตาบวม หน้าหรือหลังเท้า

• ปวดเอว

รูปภาพจาก pixels

 

• ความดันโลหิตสูง

 

หากมีอาการเหล่านี้แล้วท่านควรรีบไปพบอายุรแพทย์โรคไตโดยเร็วเพื่อการวินิจฉัยโรคและรักษาโรคไตตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม ซึ่งถือว่าเป็นการป้องกันแบบทุติยภูมิ (secondary prevention)

คนที่เป็นโรคไตอยู่แล้ว ควรดูแลตัวเองยังไงดี?

สำหรับผู้อ่านที่ทราบว่าตนเองเป็นโรคไตอยู่แล้ว ก็ควรทราบถึงวิธีที่จะชะลอความเสื่อมของไตแบบต่าง ๆ เช่น

• การควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม

• ระมัดระวังการใช้ยาบางชนิด

• การควบคุมระดับน้ำตาลและกรดยูริกในเลือด

• การรับประทานอาหารที่มีโปรตีนต่ำรวมไปถึงการควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม เพื่อคงหน้าที่การทำงานของไตไว้ให้ได้นานที่สุด (การป้องกันระดับตติยภูมิ)

โรคไตเป็นภัยต่อสุขภาพของประชากรไทยที่เกิดจากการขาดความรู้ความเข้าใจและทักษะในการดูแลสุขภาพกระทั่งกลายเป็นภัยเงียบที่คืบคลานเข้ามาจนไตเกิดความเสื่อมไปมากจึงเกิดอาการผิดปกติ เมื่อถึงเวลานั้นการป้องกันและการชะลอความเสื่อมของไต ก็มักถึงจุดที่ทำได้ยากแล้ว ดังนั้นจึงอยากให้ท่านผู้อ่านนำความรู้จากบทความนี้ไปปฏิบัติ นอกจากจะช่วยให้ตนเองอยู่ห่างไกลโรคไตได้แล้ว ยังเป็นประโยชน์มากขึ้นหากนำไปเผยแพร่และแสดงเป็นตัวอย่าง เพื่อสร้างแรงบันดาลใจต่อคนรอบตัวช่วยให้ประชากรไทยเริ่มปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตของตนเองอันจะนำไปสู่การมีสุขภาพไตที่ดีได้อย่างถ้วนหน้าในอนาคต

 

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก goodlifeupdate

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก อ.พญ. ปิยวรรณ กิตติสกุลนาม อาจารย์แพทย์ด้านโรคไตภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย