Top Protection ฉี่เป็นเลือด เสี่ยงไตวาย

Top Protection ฉี่เป็นเลือด เสี่ยงไตวาย

ฉี่เป็นเลือด เสี่ยงไตวาย ภัยร้ายต้องระวัง

ฉี่เป็นเลือด ในสาวออฟฟิศที่ป่วยเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบบ่อย ๆ อาจเคยได้รับคําเตือนว่า “ระวังเชื้อโรคจะลุกลามขึ้นไปที่ไต และ ทําให้ไตวายนะ”

บรื๊อ…อ…อ…อ…ฟังแล้วน่ากลัวใช่ไหมคะ แต่จะเป็นความจริง แค่ไหน เรามีคําตอบมาเล่าสู่กันฟัง

นายแพทย์วินัย ศรีสะอาด แพทย์ประจําคลินิกชีวจิตโฮม อธิบายว่า

“ประเด็นที่ว่าเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบบ่อย ๆ แล้วจะทําให้ ไตวายนั้น แบ่งเป็น 2 กรณี คือ ไตวายแบบเฉียบพลัน กรณีนี้ มีโอกาสเกิดขึ้น แต่น้อยมาก และต้องมีปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น เป็นเบาหวาน มีความดันโลหิตสูง หรือเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด

“กรณีที่สองคือ ไตค่อยๆเสื่อมลงและเกิดไตวายในที่สุด ซึ่ง อธิบายกลไกก่อโรคได้ว่า เมื่อกระเพาะปัสสาวะอักเสบเนื่องจากติด เชื้อโรคปริมาณมาก เชื้อเหล่านี้จะเดินทางจากกระเพาะปัสสาวะขึ้นไป ที่ท่อปัสสาวะ แล้วลุกลามไปที่กรวยไต ทําให้กรวยไตเกิดการอักเสบ ซึ่งหากกรวยไตเกิดการอักเสบบ่อย ๆ ในระยะยาวจะทําให้ไตเสื่อม และไตวายตามมาได้”

 

Top Protection 1

ไม่กลั้นปัสสาวะ

ปัญหาอันดับหนึ่งที่ทําให้คุณสาว ๆ ป่วยเป็นโรคแสนกวนใจนี้เพราะ พฤติกรรมชอบกลั้นปัสสาวะ เนื่องจากหาห้องน้ำที่สะอาดถูกใจไม่พบ คุณหมอวินัยอธิบายให้ฟังว่า การติดเชื้อจากการเข้าห้องน้ำสาธารณะนั้น พบน้อยมาก เมื่อเทียบกับการกลั้นปัสสาวะไว้ และกล่าวเสริมดังนี้

“กระเพาะปัสสาวะเหมือนถังเก็บน้ำเสีย ถ้าเราเก็บน้ำเสียไว้นานๆ โดยไม่เปิดก๊อกให้น้ำเสียระบายออก ก้นถังและปลายท่อจะเกิดสนิม เช่น เดียวกับกระเพาะปัสสาวะ ถ้าเราไม่ฉี่ออก น้ำปัสสาวะของเราจะเข้มข้น ยิ่งเข้มข้นมากก็จะยิ่งมีโอกาสทําให้เชื้อโรคเพิ่มจํานวนและเกิดการอักเสบ ได้ สังเกตเวลาฉี่ออกมาจะรู้สึกแสบขัด ดังนั้น การป้องกันที่สําคัญคือ ไม่กลั้นปัสสาวะ”

 

รูปภาพจาก unsplash

 

ผู้ที่ชอบกลั้นปัสสาวะบ่อยๆ มักมีปัญหากระเพาะปัสสาวะอักเสบ

คําถามต่อมาคือ ไม่ปัสสาวะนานแค่ไหนจึงเรียกว่ากลั้นปัสสาวะ คุณหมอวินัยแนะนําว่า
“ไม่ถ่ายปัสสาวะนานมากกว่า 3 ชั่วโมง ถือว่าเรากําลังกลั้นปัสสาวะ ลองสังเกตตัวเองง่ายๆ เรามีความสามารถกลั้นปัสสาวะได้นานแค่ดู ภาพยนตร์ในโรงหนึ่งเรื่องซึ่งมีความยาว 2-3 ชั่วโมง แต่เมื่อภาพยนตร์จบ ต้องรีบออกมาเข้าห้องน้ำ แต่ถ้าใครไม่เข้าแสดงว่ากําลังมีพฤติกรรม กลั้นปัสสาวะ”
หลายคนมีคําถามต่อมาว่า เวลานอนกลางคืนไม่ลุกมาปัสสาวะถือว่า เป็นการกลั้นปัสสาวะหรือไม่ คุณหมอวินัยอธิบายว่า

“ถือว่าปกติและเป็นเรื่องดี เพราะจะทําให้นอนหลับลึกตลอดคืน แต่หลายคนทําไม่ได้ เพราะก่อนนอนกินอาหารและดื่มน้ำมาก ร่างกาย จึงผลิตน้ำปัสสาวะออกมาตลอดทั้งคืน เคล็ดลับหลับลึกโดยไม่ตื่นมา ปัสสาวะคือ เราต้องงดกินอาหารและน้ำก่อนนอนอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง แล้วก่อนนอนก็ไปถ่ายปัสสาวะให้เรียบร้อย จะช่วยให้เราไม่ต้องลุกมา ปัสสาวะระหว่างคืนได้

 

 

Top Protection 2

ดื่มน้ำให้เหมาะสม
ปัญหาต่อมาที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบคือ การดื่มน้ำน้อย

คุณหมอวินัยอธิบายว่า

“การดื่มน้ำจะช่วยให้ร่างกายขับองเสียออกมาได้รวดเร็วขึ้น รวมถึง ช่วยทําให้ความเข้มข้นของน้ำปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะเจือจางลง ซึ่งจะช่วย ลดการติดเชื้อลงได้ แต่ถึงอย่างนั้น เมื่อดื่มน้ำมากและบ่อยๆย่อมจะ ปวดปัสสาวะบ่อยขึ้น ดังนั้น เราจึงไม่กลั้นปัสสาวะดังคําแนะนําในข้อแรก”

 

รูปภาพจาก pixels

 

ส่วนการดื่มน้ำแค่ไหนจึงเรียกว่าเหมาะสม

คุณ หมอวินัยให้วิธีสังเกตว่า

“เราอาจไม่สะดวกนับจํานวนแก้ว วิธีสังเกตง่าย ๆ คือ ให้ดูสีปัสสาวะ ถ้าทุกครั้งที่ปัสสาวะแล้วปัสสาวะใส แสดงว่าเราดื่มน้ำพอดีกับความ ต้องการของร่างกาย แต่ถ้าสีเหลืองเข้ม แสดงว่าดื่มน้ำน้อยไป ควรดื่ม เพิ่มจนกว่าปัสสาวะเราจะใส”
นอกจากนี้คุณหมอวินัยยังย้ำว่า โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบไม่ใช่โรคอันตราย และที่สำคัญเป็นโรคที่ป้องกันได้ โดยการสร้างวินัยด้วยการขับถ่าย ปัสสาวะและการดื่มน้ำให้เป็นปกติ

 

คราวนี้สาว ๆ ออฟฟิศคงบอกลาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
ฉี่เป็นเลือด กันแบบ ถาวรได้แล้วนะคะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก goodlifeupdate
แหล่งที่มา ชีวจิต ฉบับที่ 10 December 2018