ล้างไตทำไมชอบเป็น “ตะคริว”

ล้างไตทำไมชอบเป็น “ตะคริว”

ทำไมชอบเป็น “ตะคริว” ตอนล้างไต

การเกิดตะคริวเป็นภาวะที่พบได้บ่อยระหว่างการล้างไตและเป็นภาวะที่ทำให้ผู้ป่วยมีความทุกข์ทรมานมากซึ่งบางคนเป็นแทบทุกครั้งที่มีการล้างไต

 

สาเหตุส่วนใหญ่

 

1. เกิดจากดึงน้ำออกมากเกินไประหว่างการล้างไต

เนื่องจากตั้งค่าน้ำหนักแห้งไว้ต่ำเกินไป

 

2. น้ำหนักเพิ่มมากกว่าปกติทำให้ต้องดึงน้ำออกมาก

ยิ่งอัตราส่วนของการดึงน้ำออกมากเท่าไหร่โอกาสเป็นตะคริวก็มีมากเท่านั้น ( มีรายงานว่าน้ำหนักที่เพิ่มมากเกิน6% ของน้ำหนักตัวโอกาสเป็นตะคริวประมาณ49%)

 

3. ใช้น้ำยาล้างไตที่มีระดับแคลเซี่ยม, โพแทสเซียม, แมกนีเซียมหรือโซเดียมต่ำเกินไป 

 

 

วิธีรักษา

 

1. ผู้ป่วยไม่ควรดื่มน้ำมากเกิน 1 ลิตรต่อวันในกรณีที่ผู้ป่วยไม่มีปัสสาวะออกแล้ว

 

 

 

2. ไม่ควรรับประทานเค็มมากเกินไป

 

 

 

3.น้ำหนักระหว่างการล้างไตสองครั้ง( IDW G: Interdialytic Weight Gain )

 

ควรเพิ่มไม่เกินประมาณ 5% ( ประมาณ 3.5 ถึง4 กิโลกรัมในผู้ป่วยที่น้ำหนัก70 กิโลกรัม, หรือ2.5 ถึง3 กิโลกรัมในผู้ป่วยที่มีน้ำหนัก50 กิโลกรัม)

 

 

4.ดึงน้ำออกน้อยลงโดยการตั้งน้ำหนักแห้งที่สูงขึ้น

 

โดยปกติคุณหมอโรคไตมีหน้าที่ปรับน้ำหนักแห้งให้เหมาะสมกับผู้ป่วยอยู่เป็นระยะ

 

โดยใช้ข้อมูลจากการตรวจร่างกาย

- ความดันปกติไม่มีขาบวม

- เสียงปอดปกติไม่บ่งชี้ว่ามีภาวะน้ำท่วมปอด

- นอนราบได้

 

ถ้าไม่มีอาการข้างต้นน้ำหนักที่คนไข้ที่มีอยู่นั้นน่าจะเป็นน้ำหนักแห้งที่เหมาะสม

อย่างไรก็ตามน้ำหนักแห้งที่เหมาะสมไม่ได้ขึ้นอยู่การตรวจร่างกายของคุณหมอแต่อย่างเดียวแต่ขึ้นกับอาการของคนไข้ด้วย

 

ถ้าคนไข้รู้สึกว่ามีอาการดังนี้

 

 

เวียนหัว

 เป็นตะคริวคลื่นไส้

รู้สึกหิวน้ำมือเท้าเย็นกระสับกระส่าย

รู้สึกใจสั่น

 

 

 

อาการเหล่านี้บ่งบอกว่าน้ำหนักแห้งที่ตั้งไว้นั้นอยู่นั้น “ต่ำเกินไป”

คนไข้ควรจะบอกให้คุณหมอทราบเพื่อที่คุณหมอจะได้เพิ่มน้ำหนักแห้งและดึงน้ำออกน้อยลง

อย่างไรก็ดีสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งคือผู้ป่วยต้องช่วยดูแลสุขภาพ และ ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสมด้วยจะหวังพึ่งแต่คุณหมอโรคไตไม่ได้

 

 

5. การปรับระดับน้ำยาล้างไตโดยคุณหมอโรคไต

โดยการปรับระดับ โซเดียม, แคลเซียม, โพแทสเซียมในน้ำยาล้างไตให้เหมาะสมกับค่าแล็ปของคนไข้เพื่อป้องกันไม่ให้สารเหล่านั้นต่ำเกินไปและมีโอกาสเกิดตะคริวได้ง่าย
ส่วนผู้ป่วยก็มีหน้าที่ดูแลตัวเองให้ดีในเรื่องการทานอาหาร ควบคุมน้ำหนัก และ สุขภาพโดยรวม

 

 

6. ออกกำลังกายแบบยืดกล้ามเนื้อ (Stretching exercise)

 

 

ควรออกกำลังกายแบบยืดกล้ามเนื้อโดยเฉพาะกล้ามเนื้อที่เป็นตะคริวบ่อยช่วงระหว่างล้างไตหรือช่วงตอนนอน

ยกตัวอย่างเช่นถ้าเป็นตะคริวบ่อยที่กล้ามเนื้อน่องก็ให้ใช้วิธีงอข้อเท้าบ่อยๆจะเป็นการยืดกล้ามเนื้อน่อง

 

7. การทานยา

 

 

มียาวิตามินบางตัวในงานวิจัยที่บอกว่าอาจได้ผลแต่ก็ยังไม่ชัดเจนนักแต่ผู้ป่วยก็ลองทานดูได้เพราะเป็นยาที่ไม่ได้มีผลข้างเคียงอันตรายแต่อย่างใด เช่น

1. Biotin 1 mg ทานวันละครั้ง

2. Carnitine 20mg/kg

3. Vitamin E 400U วันละครั้ง

 

15 เมษายน 2562

ผู้เขียน : พญ.ชลลดา พงศ์รัตนามาน อายุรแพทย์โรคไต (หมอทิพย์)

ผู้เรียบเรียง : นพ.นันทพล พงศ์รัตนามาน ศัลยแพทย์หลอดเลือดฟอกไต (หมอท๊อป)

 

ขอบคุณสำหรับการแชร์ของท่านเพื่อผู้ป่วยไตวายครับ
1 แชร์ของท่านอาจช่วยชีวิตใครบางคนอย่างไม่คาดฝัน

 

นพ.นันทพล พงศ์รัตนามาน

ศัลยแพทย์หลอดเลือดฟอกไต

CEO สายธาราคลินิก ศูนย์ผ่าตัดเส้นเลือดฟอกไต

 

LINE : @drtop

Facebook ผ่าตัดเส้นฟอกไต by หมอท๊อป

www.drtop.co

www.saitaraclinic.com

 

ขอขอบคุณรูปภาพจาก unsplash

ขอขอบคุณรูปภาพจาก pixels

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Dr.Top เส้นเลือดขอด & เส้นเลือดฟอกไต