การวินิจฉัย และ การรักษาโรคกระดูกพรุน

การวินิจฉัย และ การรักษาโรคกระดูกพรุน

ปัจจุบันสามารถวินิจฉัยโรคกระดูกพรุนก่อนเกิดอาการ

โดยการตรวจความเข้ม หรือความหนาแน่นของกระดูก หรือ BMD การตรวจนี้ใช้แสงเอกซเรย์ส่องตามจุดที่ต้องการ และใช้คอมพิวเตอร์คำนวณหาความหนาแน่นของกระดูก เทียบกับค่ามาตรฐาน เช่น การเปรียบเทียบกับมวลกระดูกของผู้หญิงอายุ 25 ปี หากมวลกระดูกน้อยกว่า 2.5 เท่า standard deviation ของผู้หญิงอายุ 25 ปี แสดงว่าเป็นโรคกระดูกพรุน หากเนื้อกระดูกคุณน้อยกว่าปกติแต่ไม่ถึง 2.5 เท่า standard deviation คุณเป็นคนที่เนื้อกระดูกน้อยกว่าปกติ 


การรักษาโรคกระดูกพรุน

• Estrogen ต้องให้ร่วมกับยา Progestin ซึ่งจะพิจารณาให้ในรายที่ตัดรังไข่ก่อนอายุ 50 ปี หรือผู้ที่หมดประจำเดือนอายุน้อย หรือประวัติครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน หรือผู้ที่มีมวลกระดูกต่ำกว่าเกณฑ์

• Raloxifene เป็นยาในกลุ่มฮอร์โมนเอสโตรเจน สามารถเพิ่มระดับความแข็งของกระดูกได้ครึ่งหนึ่งของการใช้ฮอร์โมนทดแทน

• Alendronate ยานี้ออกฤทธิ์โดยการยับยั้งการสลายของกระดูก ควรรับประทานยานี้ขณะท้องว่าง และดื่มน้ำตาม และให้อยู่ในท่ายืน 30 นาที ยานี้อาจจะทำให้เกิดอาการจุกเสียดท้องและหน้าอก ผู้ที่มีโรคไตควรปรึกษาแพทย์

• Calcitonin เป็นฮอร์โมนใต้สมอง ได้จากการสกัดต่อมใต้สมองจากปลาทูน่า ใช้พ่นจมูก ยาตัวนี้ผลข้างเคียงต่ำ

• Tamoxifen ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์ที่ estrogen receptor กับบางอวัยวะเท่านั้น คือยากลุ่มนี้มีความจำเพาะสูงกว่าเอสโตรเจน ยากลุ่มนี้สามารถเพิ่มมวลกระดูก และลดอาการร้อนตามตัว

รูปภาพจาก pixels

ขอขอบคุณข้อมูลจาก siamhealth