Check Top 5 โรคร้าย ทำคนทั่วโลกตายเยอะที่สุด
โรคร้าย ที่ทำคนตายเยอที่สุด มีโรคอะไรบ้าง
บ.ก.ยกเรื่องนี้มาจาก บทความของดร.ดีบอร่า วีเธอสปูน ที่เธอได้เก็บข้อมูลจาก World Health Organization (WHO) และตีพิมพ์ลงในเว็บไซต์แห่งหนึ่ง เมื่อปลายปีที่ผ่านมา เธอเก็บข้อมูลของปี 2015 และยกมาทั้งหมด 10 โรค ซึ่งรวมอัตราผู้เสียชีวิตทั้งหมดราว 54,000 ล้านคนทั่วโลก และ 68% ของผู้เสียชีวิตนั้น มีสาเหตุเกี่ยวข้องโดยตรงกับโรคทั้ง 10 ที่ดร.ดีบอร่ายกมา
โดย บ.ก. ก็เลือกเฉพาะโรคที่มีสถิติผู้ป่วยเยอะ ใกล้เคียงกันกับผู้ป่วยบ้านเรา ทั้งนี้ไม่ได้ขู่ให้กลัวอะไร แต่ต้องการให้ทุกคนตระหนักและระวังสุขภาพกันมากขึ้น เป็นเหมือนเครื่องเตือนใจให้ดูแลสุขภาพกันค่ะ เพราะโรคที่กำลังจะกล่าวถึงนั้น เป็นโรคที่ป้องกันได้ ด้วยการดูแลสุขภาพ ได้แก่
1. โรคหัวใจและหลอดเลือด
โดยปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดที่พบผู้ป่วยมากที่สุดคือ หลอดเลือดที่นำเลือดไปเลี้ยงหัวใจนั้นตีบลง แม้ว่าแชมป์โลกเดิมของผู้ป่วยโรคนี้ อย่างสหรัฐอเมริกาและประเทศในแถบยุโรป จะสามารถลดจำนวนลงได้แล้ว แต่ผู้ป่วยในประเทศอื่นๆ ทั่วโลกกลับเพิ่มขึ้น จึงทำให้สถิติของโรคนี้ครองแชมป์โลก
อย่างไรก็ตามโรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วย
– ลดความดันโลหิตลงบ้าง ทั้งนี้ก็ต้องลดความเครียด ลดการดื่มสุรา
– ลดคลอเรสเตอรอล ซึ่งวิธีการลดคลอเรสเตอรอลให้ได้ผลนั้น คือการเพิ่มวิตามินดี (เพราะวิตามินดีเป็นตัวพาคลอเรสเตอรอลไปทำหน้าที่ในผนังเซลล์ และเพิ่มการกินโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 เนื่องจากคลอเรสเตอรอลมีหน้าที่เพิ่มความยืดหยุ่นให้ผนังเซลล์ ฉะนั้นการที่มีคลอเรสเตอรอลในเลือดสูงนั้น แปลว่าหลอดเลือดเริ่มแข็งตัว)
– งดการสูบบุหรี่
– ลดการกินแป้งขาวและของหวาน
– ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
– รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในระดับมาตรฐาน
2. โรคสโตรก
โรคนี้เกี่ยวข้องกับหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง เกิดตีบหรือตัน ทำให้สมองขาดออกซิเจน โรคนี้มีผลต่อระบบประสาทในร่างกาย เช่น มีอาการชา ความจำเสื่อม เดินไม่ได้ตามปกติ หรือมองเห็นไม่ได้ตามปกติ สโตรกสามารถทำให้เกิดโรคอัมพฤกษ์หรืออัมพาตได้ จากสถิติที่ดร.ดีบอร่าเก็บมา พบว่า 93% รู้ว่าอาการชาเฉียบเพลันที่เกิดขึ้นนั้นคือสโตรก แต่ไปพบหมอไม่ทัน มีแค่ 38% เท่านั้นที่สามารถไปพบแพทย์ได้ทัน
การป้องกันโรคนี้ ทำได้โดย
- ลดความดันโลหิต ทั้งนี้ก็ต้องลดความเครียด ลดการดื่มสุรา
- งดสูบบุหรี่
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
ทั้งนี้ หากเป็นผู้หญิง เป็นชาวอเมริกัน-แอฟริกัน มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ ต้องดูแลสุขภาพให้มากกว่ากลุ่มอื่น
3. โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ
โรคดังกล่าวได้แก่ โรคหวัด โรคปอดอักเสบ โรควัณโรค โดยโรคเหล่านี้เกิดจากเชื้อไวรัส และแบคทีเรีย (แบคทีเรียเริ่มพัฒนาสายพันธุ์ตนเอง จนก่อโรคทางเดินหายใจได้) ทั้งนี้อาการที่พบยังเหมือนกัน นั้นคือ ไอ จาม หายใจขัด มีเสียงหวีดในหน้าอก
นอกจากการหลีกเลี่ยงไปอยู่ในที่ที่มีผู้คนแออัด
- ปิดปากเวลาไปหรือจาม
- ล้างมือสม่ำเสมอแล้ว
- การกินอาหารสุขภาพ
- ออกกำลังกายเสมอ
- ลดเครียดลงบ้าง เพื่อภูมิคุ้มกันแข็งแรง ก็ช่วยป้องกันการติดเชื้อ ที่สามารถลุกลามจนถึงขั้นเสียชีวิตได้
ยิ่งไปกว่านั้น ควรฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ทุกปี หากมีอาการป่วยด้วยโรคหวัด ให้รีบพักผ่อนให้หายก่อนออกไปทำงานหรือทำกิจกรรมอื่นใด
4. โรคเรื้อรังที่มาจากความเสื่อม
ตามสถิติของดร.ดีบอร่า คือโรคมะเร็งปอดและเบาหวาน โดยพบผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดมากที่สุดคือ ประเทศในแถบเอเชียที่มีสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ เช่น อินเดีย ซึ่งยังให้เตาถ่านและเตาฟืนปรุงอาหารอยู่ นอกจากนี้ปัจจัยสำคัญของโรคมะเร็งปอดคือ การสูบบุหรี่ ทั้งสูบเอง และเป็น second hand smoker รวมทั้งการได้รับควันจากรถยนต์ ที่การเผาไหม้น้ำมันไม่สมบูรณ์ ทั้งนี้ในปี 2015 มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปอดถึง 4 ล้านคนทั่วโลก
ส่วนโรคเบาหวานนั้น สาเหตุของการเสียชีวิตมาจาก เบาหวาน ชนิดที่ 2 เนื่องมาจากตับอ่อนไม่ผลิตอินซูลิน เพราะผู้ป่วยบริโภคแป้งขาวและของหวานมากเกินไป และต่อเนื่องมายาวนาน ทำให้ตับอ่อนที่ควรผลิตอินซูลิน เพื่อย่อยแป้งและน้ำตาล เกิดอาการล้าและหยุดทำงาน
ฉะนั้นวิธีที่ง่ายที่สุดในการป้องกัน โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 คือ
- ลดการกินแป้งขาว และของหวานลง
- โดยเพิ่มการกินไขมันดี เช่น ปลา ถั่วต่างๆ เพื่อให้ร่างกายใช้เป็นพลังงานแทนแป้งและน้ำตาล ทั้งนี้การย่อยพลังงานจากไขมันนั้น เกิดขึ้นที่ตับ ไม่ใช่ตับอ่อน (เหมือนการย่อยแป้งและน้ำตาล) ทั้งนี้เพื่อให้ตับอ่อนมีช่วงพัก และไม่เกิดอาการล้า และหยุดผลิตอินซูลิน
5. โรคอัลไซเมอร์
อาการเริ่มต้นของอัลไซเมอร์นั้นเหมือนกับโรคความจำเสื่อม ซึ่งผู้ที่อยู่รอบตัวมักคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดาของผู้สูงอายุ โดยหารู้ไม่ว่า โรคอัลไซเมอร์นั้น ไม่ใช่แค่ทำให้ความจำลางเลือนเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการสูญเสียการควบคุมอารมณ์และจิตใจ นำไปสู่การมีพฤติกรรมแปลกประหลาดในช่วงท้ายของโรค ก่อนการเสียชีวิต
ฉะนั้น ให้รู้ไว้ตรงนี้เลยค่ะว่า 60-80 % ของผู้ที่มีอาการความจำเสื่อมนั้นเป็นโรคอัลไซเมอร์ วิธีการป้องกันโรคนี้อาจไม่สามารถทำได้อย่างชัดเจน แต่สามารถบอกได้ว่า ผู้ที่มความเสี่ยงโรคนี้คือ
- อายุมากกว่า 65 ปี
- มีประวัติผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ในครอบครัว
- เคยมีปัญหาเกี่ยวกับสมองมาก่อน
- เป็นผู้หญิง
- กินอาหารจำพวกแป้งขาวและของหวานมาตลอด
- ไม่ออกกำลังกาย
- ไม่บริโภคไขมันดี เช่น ปลา ถั่วต่างๆ
- มีชีวิตแปลกแยก ไม่เข้าสังคมมาเป็นระยะเวลานาน
ขอขอบคุณรูปภาพจาก unsplash
ขอขอบคุณรูปภาพจาก pixels
ขอขอบคุณข้อมูลจาก goodlifeupdate